๓๖. อยากมีอานาจอย่าหวังยศชื่อเสียง
ทาเน ตปสิ สูเร จ, ยสฺส น ปตฺถิโต ยโส;
วิชฺชาย’มตฺถลาเภ จ, เกวลํ อธิโก วโสฯ
„ผู้ไม่มุ่งหวังชื่อเสียงในเวลาให้ทาน
เวลาบำเพ็ญตบะและเวลาช่วยเหลือผู้อื่น,
เขาจะเป็นผู้มีอานาจยิ่งโดยสิ้นเชิง
ในวิชาความรู้และการได้สิ่งที่เป็นประโยชน์.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๓๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ทาเน (ในทาน, การให้) ทาน+สฺมึ
ตปสิ (ในตบะ, การพำเพ็ญพรต) ตป+สฺมึ แปลง สฺมึเป็น อิ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า มโนคณาทิโต สฺมึนานมิอา. (รู ๙๕), ลง ส อาคมได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ส สเร วาคโม. (รู ๙๖)
สูเร จ (และในความกล้า, พระอาทิตย์) สูร+สฺมึ
ยสฺส (ของผู้ใด, อันผู้ใด) ย+ส สัพพนาม
น ปตฺถิโต (ไม่ขอแล้ว, ไม่ปรารถนาแล้ว, ไม่ประสงค์แล้ว, ไม่มุ่งหวังแล้ว) ปตฺถ+อิ+ต > ปตฺถิต+สิ
ยโส (ยส, ชื่อเสียง, เกียรติ, ความรุ่งเรือง) ยส+สิ
วิชฺชายมตฺถลาเภ จ, ตัดบทเป็น วิชฺชายํ+อตฺถลาเภ จ (ในวิชาความรู้ และในการได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วย) วิชฺชา+สฺมึ = วิชฺชายํ, อตฺถ+ลาภ > อตฺถลาภ+สฺมึ = อตฺถลาเภ
เกวลํ (อย่างเดียว, สิ้นเชิง, ทั้งสิ้น, ล้วน) เกวล+อํ
อธิโก (ยิ่ง, มาก, พิเศษ, เกิน) อธิก+สิ
วโส (อานาจ) วส+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen