๓๗. มีลูกคนเดียวก็ขอให้เป็นคนดี
วโร เอโก คุณี ปุตฺโต, น จ มูฬฺหสตานฺยปิ;
เอโก จนฺโท ตโม หนติ, น จ ตาราคโณ ตถา ฯ
“ลูกคนเดียวมีคุณธรรม ประเสริฐกว่า,
กว่าลูกร้อยคนที่โง่เขลา ไม่ประเสริฐเลย;
พระจันทร์ดวงเดียว ย่อมขจัดความมืดได้,
ส่วนหมู่ดาวเต็มฟ้า จะเป็นอย่างนั้นหามิได้.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๓๗ จาณักยนิตี ๑๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
วโร (ประเสริฐ, เลิศ, ดีกว่า) วร+สิ
เอโก (หนึ่ง, เดียว, เอก) เอก+สิ
คุณี (ที่มีคุณ, มีความดี) คุณี+สิ วิ. คโณ อสฺส อตฺถีติ คุณี. (คนของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขาชื่อว่าผู้มีคุณ) คุณ+อี ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต
ปุตฺโต (บุตร, ลูก), ปุตฺต+สิ
น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
จ (แต่, ส่วน) เป็นนิบาต
มูฬฺหสตานฺยปิ ตัดบทเป็น มูฬฺหสตานิ+อปิ (แม้ร้อยแห่งบุตรที่โง่เขลา) มูฬฺห+สต > มูฬฺหสต+โย นปุสกลิงค์ ปฐมา. พหู.
เอโก จนฺโท (พระจันทร์ดวงหนึ่ง) เอก+สิ = เอโก, จนฺท+สิ = จนฺโท
ตโม หนติ (ย่อมทำลาย ซึ่งความมืด) ตโม = ตม+อํ, เอา อํ เป็น โอ ได้บ้าง เป็นมโนคณาทิศัพท์ (วจีวิภาค ภาคที่ ๒ หน้า ๖๓, ข้อ ๖๙), √หน+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
ตาราคโณ (หมู่แห่งดาวทั้งหลาย) ตารา+คณ > ตาราคณ+สิ, วิ. ตารานํ คโณ ตาราคโณ (หมู่แห่งดาว ท. ชื่อว่า ตาราคณ) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
ตถา (อย่างนั้น) เป็นนิบาติใช้ในอรรถปฏิภาค (เปรียเทียบ)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen