๓๘. บุญที่พ่อแม่ทำย่อมส่งผลถึงลูกหลาน
ปุญฺญติตฺถกโต เยน, ตโป กฺวาปิ สุทุกฺกโร;
ตสฺส ปุตฺโต ภเว วสฺโส, สมิทฺโธ ธมฺมิโก สุทฺเธ ฯ
“ข้อวัตรปฏิบัติอันไหนที่ทำได้แสนยาก
อันผู้ใดได้กระทำให้เป็นท่าคือบุญไว้แล้ว,
บุตรของผู้นั้นพึงเป็นผู้เจริญวัย มีความสำเร็จ
และประกอบด้วยธรรมเพราะบุญอันหมดจดนั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๓๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปุญฺญติตฺถกโต (ผู้สร้างท่าคือบุญไว้แล้ว, ผู้สร้างท่าแห่งบุญไว้แล้ว, ทำให้เป็นท่าบุญไว้แล้ว) ปุญฺญ (บุญ, ความดี) +ติตฺถ (ท่า, ฝั่ง) +กต (ทำแล้ว, สร้างแล้ว), เป็นตติยพหุพพีหิสมาส มีจตุตถีตัปปุริสสมาสเป็นท้อง (สมาสท้อง) วิ. ปุญฺญํ เอว ติตฺถํ ปุญฺญติตฺถํ (ท่าคือบุญ ชื่อว่า ปุญฺญติตฺถ เป็นอวธารณบุพพบทกัมมธารยสมาส, ปุญฺญานํ ติตฺถํ ปุญฺญติตฺถํ (ท่าแห่งบุญ ชื่อว่า ปุญฺญติตฺถ) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส, ปุญฺญติตฺถํ กตํ เยน โส ปุญฺญติตฺถกโต (ท่าแห่งบุญอันผู้ใดทำแล้ว, ผู้นันชื่อว่า ผู้มีท่าแห่งบุญอันทำแล้ว)
เยน (อันผู้ใด) ย+นา แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙) แปลอออสำเนียงว่า “อัน” เรียกชื่อทางสัมพันธ์ว่า “อนภิหิตกัตตา”
ตโป (ตบะ, ความเพียร, ความดี, เครื่องเผากิเลส) ตป+สิ หลัง อการันต์ในปุงลิงค์แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖)
กฺวาปิ ตัดบทว่า โก+อปิ (อะไร เช่นไร, หรือ +แม้) ในที่นี้ขอแปลว่า บางอย่าง, อันไหน.
สุทุกฺกโร (กระทำได้ยากด้วยดี, ทำได้แสนยาก) สุทุกฺกร+สิ
ตสฺส (ของเขา) ต+ส ลง สฺ อาคม ด้วยสูตรว่า สาคโม เส. (รู ๘๖)
ปุตฺโต (บุตร, ลูก) ปุตฺต+สิ
ภเว (พึงมี, พึงเป็น) ภู+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
วสฺโส (ปี, พรรษา, อายุ, ฝน) วสฺส+สิ
สมิทฺโธ (มีความสำเร็จ, เจริญ, มั่นคง) สมิทฺธ+สิ
ธมฺมิโก (ผู้ประกอบด้วยธรรม) ธมฺมิก+สิ
สุทฺเธ (ที่หมดจด, บริสุทธิ์, สะอาด) สุทฺธ+สฺมึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen