๔๖. ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ
ปาสาณฉตฺตํ ครุกํ, ตโต เทวานาจิกฺขนา;
ตโต วุฑฺฒานโมวาโท, ตโต พุทฺธสฺส สาสนํ ฯ
“ฉัตรที่ทำด้วยแผ่นหิน เป็นของหนัก,
คำบอกเล่าของเหล่าเทวดา หนักกว่านั้น;
ที่หนักกว่านั้น คือโอวาทของผู้เฒ่าทั้งหลาย,
ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหนักน่าเชื่อถือกว่านั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๖ มหารหนีติ ๑๓ ธัมมนีติ ๑๒ โลกนีติ ๑๔๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปาสาณฉตฺตํ (ฉัตรที่ทำด้วยหิน, ร่มหิน,) ปาสาณ+ฉตฺต > ปาสาณฉตฺต+อํ, ปาสาณ (หิน, แผ่นหิน) ป., ฉตฺต (ฉัตร, ร่ม) นป.
ครุกํ (ที่หนัก, หนักแน่น, ควรเคารพ, น่านับถือ) ครุก+อํ
ตโต (กว่านั้น) ต+โต ปัจจัย ๆ เรียกว่า „วิภัตติปปัจจัย“ คือ ปัจจัยที่ใช้แทนวิภัตติ ใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ ให้แปลว่า แต่, จาก, กว่า, เหตุ (เพราะ).
เทวานจิกฺขนา (การบอกข่าวของพวกเทวดา) เทวานํ+จิกฺขนา >เทวานจิกฺขนา+สิ, เป็นอลุตตสมาส. ส่วนในกวิทัปปณนีติ เป็น เทวานาจิกฺขนา ตัดบทว่า เทวานํ+อาจิกฺขนา (การบอกกล่าว-, บอกเล่าของเทวดาทั้งหลาย); เทวา+นํ = เทวานํ (ของพวกเทวดา), อาจิกฺขนา+สิ = อาจิกฺขนา (การบอก, การกล่าว).
วุฑฺฒานโมวาโท ตัดบทเป็น วุฑฺฒานํ+โอวาโท (โอวาทของคนเฒ่าทั้งทั้งหลาย), วุฑฺฒ (ผู้เฒ่า, คนแก่, ผู้สูงอายุ, เจริญแล้ว) วฑฺฒ-วฑฺฒเน (เจริญ)+ต แปลง ต เป็น ฒ § ธฒภเหหิ ธฒา จ. (รู ๖๐๗), แปลง อ เป็น อุ และลบ ฑ § กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘), เพราะ ฒ แปลงที่สุดธาตุเป็น ฑฺ § โฑ ฒกาเร. (รู ๖๑๕). วุฑฺฒ+นํ = วุฑฺฒานํ (แห่งผู้เฒ่า, ของคนแก่ ท.), โอวาท+สิ = โอวาโท (โอวาท, คำสอน)
พุทฺธสฺส (ของพระพุทธเจ้า) พุทฺธ+ส ป.
สาสนํ (คำสอน, ศาสน์) สาสน+อํ นป.
..
คาถานี้ปรากกฏในนีติทั้ง ๔ ตามชื่อและดับดับคาถาที่ยกมาด้านบนนั้นแล้ว คัมภีร์นีติ (นีติคันถสังคหะ) ในฉัฏฐสังคายนาท่านรวมมีทั้งหมด ๑๐ นีติ คือ
๑. โลกนีติ, ๒. สุตฺตนฺตนีติ, ๓. สูรสฺสตินีติ, ๔. มหารหนีติ, ๕. ธมฺมนีติ, ๖. กวิทปฺปณนีติ, ๗. นีติมญฺชรี, ๘. นรทกฺขทีปนี, ๙. จตุรารกฺขทีปนี และ ๑๐. จาณกฺยนีติ
ช่วงนี้เป็นการเสนอเนื้อหาสาระจาก “กวิทปฺปณนีติ” เป็นหลัก ซึ่งมีประ ๓๐๐ กว่าคาถา โดยจะพยายามยามแปลไปตามลำดับเท่าที่จะทำได้ หากคาถาใดแปลไม่ออก ก็จะขอข้ามไปก่อน หรืออาจมีบางคาถาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ก็จะนำมาแปลก่อน หากมีเวลาก็จะอธิบายไวยากรณ์บ้าง ถ้าเวลาน้อยก็จะแยกให้เดาเอาเอง ท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุข สนุกกับการเรียนภาษาบาฬีโดยทั่วกันนะครับ.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen