Freitag, 17. Juli 2020

๔๙. ผู้รับหาง่าย-ผู้ให้หายาก


๔๙. ผู้รับหาง่าย-ผู้ให้หายาก

สเตสุ ชายเต สูโร, สหสฺเสสุ ปณฺฑิโต;
วุตฺตา สตสหสฺเสสุ, ทาตา ภวติ วา วา

ในจำนวนร้อยคนจะมีคนกล้าหนึ่งคน,
ในจำนวนพันคนจะมีบัณฑิตหนึ่งคน;
ในแสนคนทั้งคนกล้าและบัณฑิตที่ว่านั้น,
คนชอบให้ทานย่อมมีบ้าง หรืออาจไม่มีเลย.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๙ มหารหนีติ ๑๗ ธัมมนีติ ๓๖๒)

..

ศัพท์น่ารู้ :

สเตสุ (ในร้อย.., ในจำนวนร้อย..) สต+สุ
ชายเต (ย่อมเกิด, ย่อมมี) √ชน++เต ทิวาทิ.​ กัตตุ. แปลงที่สุดธาตุเป็น อา ด้วยการโยควิภาค(การแบ่งสูตร) ว่า ชนาทีนมา. จากสูตรเต็มว่า ชนาทีนมา ติมฺหิ . (รู ๖๑๙)
สูโร (คนกล้า, กล้าหาญ)  สูร+สิ
สหสฺเสสุ (ในพัน.., ในจำนวนพัน..) สหสฺส+สุ
(ด้วย, และ) นิบาต
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ 
วุตฺตา (ที่กล่าวแล้ว) √วจ+ > วุตฺต+โย แปลง เป็น อุ และลบ ที่สุดธาตุด้วยสูตรว่า วจ วา วุ. (รู ๖๒๙), ซ้อน ตฺ อักษร, และลง อาคมอีกที่หนึ่งสำหรับศัพท์นี้ ถ้าไม่ลง อาคมก็จะมีรูปเป็นอุตฺตแปลว่า กล่าวแล้ว.
สตสหสฺเสสุ (ในแสน.., ในจำนวนแสน..)  สตสหสฺส+สุ
ทาตา (ผู้ให้, นักบริจาค) ทาตุ+สิ 
ภวติ (ย่อมมี) √ภู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
วา (หรือ, บ้าง) วา ศัพท์ มาคู่กันนิยมแปลตัวหน้าว่าหรือตัวหลังว่าหรือว่าเช่น ภวติ วา (ย่อมมีบ้าง) ภวติ วา (หรือว่าย่อมไม่มี)
วา (หรือไม่มี, ไม่มีบ้าง)  อนึ่ง นวา เขียนติดกันก็ได้ มักแปลว่า มีได้บ้าง, ได้บ้าง, มีบ้าง เป็นต้น.

..

Keine Kommentare: