๗๔. บัณฑิตยกย่องความไม่ประมาท
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ, ปุญฺญกิริยาสุ ปณฺฑิตา;
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ, อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต ฯ
“บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย;
บัณฑิตมีปัญญาไม่ประมาทแล้ว
ย่อมยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๔ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อปฺปมาทํ (ความไม่ประมาท) น+ปมาท > อปฺปมาท+อํ ทุติยา.
ปสํสนฺติ (ย่อมสรรเสริญ, ยกย่อง, ชมเชย) ป+√สํส+อ+อนฺติ, ภูวาทิ. กัตตุ.
ปุญฺญกิริยาสุ (ในบุญกิริยา, การทำบุญ ท.) ปุญฺญ+กิริยา > ปุญฺญกิริยา+สุ
ปณฺฑิตา (บัณฑิต, ผู้ฉลาด, ผู้ปัญญา ท.) ปณฺฑิต+โย ปฐมา.
อปฺปมตฺโต (ผู้ไม่ประมาท) น+ปมตฺต > อปฺปมตฺต+สิ
อุโภ (สอง, ทั้งสอง) อุภ+โย ทุติยา. แปลง โย เป็น โอ ได้บ้าง ด้วยตุศัพท์ในสูตรว่า ตโต โยนโม ตุ. (รู ๑๖๐)
อตฺเถ (ประโยชน์, อรรถ, เนื้อความ) อตฺถ+โย ทุติยา.
อธิคฺคณฺหาติ (ยึดเอาไว้ได้, ถือเอาอย่างดี) อธิ+√คห+ณฺหา+ติ คหาทิ. กัตตุ. ลง ณฺหา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า คหาทิโต ปฺปณหา. (รู ๕๑๗) ในเพราะ ณฺหา ให้ลบ ห ด้วยสูตรว่า หโลโป ณฺหามฺหิ. (รู ๕๑๘) = อธิ+ค+ณฺหา+ติ, ซ้อน คฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = อธิ+คฺค+ณฺหา+ติ รวมสำเร็จรูปเป็น อธิคฺคณฺหาติ, คหาทิคณะนี้ในปทรูปสิทธิถูกรวมไว้ในกิยาทิคณะ.
ปณฺฑิโต (ผู้มีปัญญา, บัณฑิต, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen