Sonntag, 16. August 2020

๗๙. ยิ่งค้นคว้า-ก็ยิ่งรู้


๗๙. ยิ่งค้นคว้า-ก็ยิ่งรู้

นิปุเณ สุตเมเสยฺย, วิจินิตฺวา สุตตฺถิโก;
ภตฺตํ อุกฺขลิยํ ปกฺกํ, ภาชเนปิ ตถา ภเวฯ

ชนผู้ใคร่ในการศึกษา ใคร่ครวญแล้ว,
ควรเสาะหาความรู้ในคัมภีร์ที่ลึกซึ้งอีก;
เหมือนข้าวที่สุกแล้วอยู่ในหม้อ,
ก็ควรตักใส่แม้ภาชนะอื่นอีก ฉะนั้น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๙ มหารหนีติ ๔๐, ธัมมนีติ ๕๘)

..


ศัพท์น่ารู้ :

นิปุเณ (ที่ละเอียด, สุขุม, ลึกซึ้ง) นิปุณ+สฺมึ 
สุตเมเสยฺย ตัดบทเป็น สุตํ+เอเสยฺย, สุตํ (การฟัง, สิ่งที่ฟังแล้ว, เรียนแล้ว)  สุต+อํ ทุติยา
เอเสยฺย (พึงแสวงหา) √เอส++เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ. เอส-คติเอสนวุทฺธิสุ เอส ธาตุในความไป, แสวงหาและความเจริญ . (ธาตวัตถสังคหะ ๓๔)
วิจินิตฺวา (วินิจฉัย, ตัดสิน, พิจารณา, ใคร่ครวญ) วิ+√จิ-จเย+นา+อิ+ตฺวา
สุตตฺถิโก (ผู้ต้องการด้วยการฟัง, นักศึกษา) สุตตฺถิก+สิ วิ. สุเตน อตฺโถ อสฺส อตฺถีติ สุตตฺถิโก (ความต้องการด้วยสูตร มีอยู่ แกเขา เหตุนั้น เขา ชื่อว่า สุตตฺถิโก (สุต+อตฺถ+อิก) ลง อิก ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต ด้วยสูตรว่า ทณฺฑาทิโต อิกอี. (รู ๔๐๐)
ภตฺตํ (ภัตต์, อาหาร) ภตฺต+สิ ปฐมา. 
อุกฺขลิยํ (หม้อข้าว) อุกฺขลิ+สฺมึ 
ปกฺกํ (หุงแล้ว, ต้ม-, แกง-, ผัด-, ทอด-, สุกแล้ว) ปกฺก+สิ, ปกฺก มาจากปจ+, แปลง เป็น กฺก และลบอักษรที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า สุสปจสกโต กฺขกฺกา . (รู ๖๑๗) = +กฺก, รวมเป็น ปกฺก, ปกฺก+สิ แปลง สิ เป็น อํ ด้วยสูตรว่า สึ. (รู ๑๙๕) = ปกฺก+อํ รวมสำเร็จรูปเป็น ปกฺกํ, วิ. อปจฺจีติ ปกฺกํ (ชื่อว่า ปกฺก เพราะอรรถว่า อันเขาหุงแล้ว) 
ภาชเนปิ (แม้ในภาชนะ) = ภาชเน+อปิ 
ตถา (เหมือนอย่างนั้น) เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ 
ภเว (พึงมี, พึงเป็น) √ภู++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

..

Keine Kommentare: