๖๕. ฉลาดได้เพราะใกล้ชิด
กาโจ กญฺจนสํสคฺโค, ธตฺเต มรกตึ ชุตึ;
ตถา สพฺภิ สนฺนิธานา, มูฬฺโห ยาติ ปวีณตํ ฯ
“แก้วผลึกผสมกับทองคำ เมื่อถูกหลอม
ย่อมถึงความรุ่งเรืองงดงาม ฉันใด;
คนเขลาก็เช่นกัน ย่อมถึงความเป็นคนฉลาด
เพราะคลุกคลีกับสัตบุรุษทั้งหลาย ฉันนั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๖๕ นรทักขทีปนี ๑๑๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
กาโจ (แก้ว, แก้วผลึก; แอก, สาแหรก; โรคต้อในตา) กาจ+สิ
กญฺจนสํสคฺโค (ผสมกับทองคำ, คบ-, คลุกคลี-) กญฺจน+สํสคฺค > กญฺจนสํสคฺค+สิ
ธตฺเต (เป่า, พัด, ถลุง, หลอม, ผสม) ธตฺต+สฺมึ, ธตฺต น่าจะมาจาก ธม-สทฺทคฺคิสํโยเค+ต, แต่รูปสำเร็จควรจะเป็น ธนฺต มากกว่าตามหลักไวยากรณ์. หรืออาจเป็น ธชิ-คตฺยํ+ต ก็อาจเป็นได้.
มรกตึ (แก้วมรกต?) มรกติ+อํ
ชุตึ (ส่องแสง, โชติช่วง) ชุติ+อํ
ตถา (ฉันนั้น, เหมือนอย่างนั้น) เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ (ปฏิภาค)
สพฺภิ (สัตบุรุษ ท.) สนฺต+หิ แปลง หิ เป็น ภิ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาหิสฺมึนํ มฺหาภิมฺหิ วา. (รู ๘๑) = สนฺต+ภิ, ในเพราะ ภ แปลง สนฺต เป็น ส, และลง ส อาคม ด้วยสูตรว่า สนฺตสทฺทสฺส โส เภ โพ จนฺเต. (รู ๑๑๒) = สพฺภิ.
สนฺนิธานา (สะสม, ฝัง, เก็บไว้) สนฺนิธาน+สฺมา
มูฬฺโห (หลง, บ้า, โง่, เขลา, คนพาล) มูฬฺห+สิ
ยาติ (ถึง, ไป) ยา-คติมฺหิ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
ปวีณตํ (ความเป็นผู้ฉลาด, -ชำนาญ) ปวีณ+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต > ปวีณตา+อํ, ปวีณ (ฉลาด, ชำนาญ)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen