๘๕.๑ สำเนียงบอกภาษา
อุปฺปเลน ชลํ ชญฺญา, กิริยาย กุลํ นโร;
พฺยตฺติปฺปมาณ วาจาย, ชญฺญา ติเณน เมทนึ ฯ
“ชนพึงรู้น้ำตื้นลึกด้วยก้านบัว,
รู้ชาติตระกูลด้วยกริยามารยาท
รู้ความฉลาดด้วยการเจรจาพาที,
รู้ดินเลวหรือดีด้วยต้นไม้ใบหญ้า.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๕.๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อุปฺปเลน (บัว) อุปฺปล+นา นป.
ชลํ (น้ำ) ชล+อํ ทุติยา. นป.
ชญฺญา (พึงรู้, ควรรู้) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ. แปลง ญาธาตุ เป็น ชํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชาชํนา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยาญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา ปัจจัย ไดบ้าง ด้วยสูตรว่า นาสฺส โลโป ยการตฺตํ. (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลงนิคคหิตเป็นที่สุดวรรค ด้วยสูตรว่า วคฺคนฺตํ วา วคฺเค. (รู ๔๙) = ชญฺญา.
กิริยาย (กิริยา, การทำ, ความประพฤติ) กิริยา+นา อิต.
กุลํ (ตระกูล, สกุล) กุล+อํ ทุติยา.
นโร (คน, นรชน) นร+สิ
พฺยตฺติปฺปมาณ, -ปมาณํ (ประมาณของความคม, -เฉียบแหลม, -ฉลาด) พยตฺติ+ปมาณ > พฺยตฺติปฺปมาณ+อํ ทุติยา
วาจาย (วาจา, ถ้อยคำ) วาจา+นา อิต.
ติเณน (หญ้า) ติณ+นา นป.
เมทนึ (ดิน, แผ่นดิน) เมทนี+อํ อิต.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen