๙๐. คนที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม
วินา สตฺถํ น คจฺเฉยฺย, สูโร สงฺคามภูมิยํ;
ปณฺฑิตฺวทฺธคู วาณิโช, วิเทสคมโน ตถาฯ
“นักรบกล้าเว้นศาสตรา ไม่ควรไปสู่สนามรบ;
นักปราชญ์เว้นคัมภีร์ ไม่ควรไปสู่ธรรมสภา,
คนเดินทางไกลไร้สหาย ไม่ควรไปสู่ที่กันดาร,
พ่อค้าเว้นพวกพ้อง ไม่ควรไปค้าขายในต่างแดน.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๐ ธัมมนีติ ๒๔๕ มหารหนีติ ๑๐๙ โลกนีติ ๒๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
วินา (เว้น) นิบาตในอรรถวิปปโยคะ = แยกจากกัน
สตฺถํ (ศัสตรา, หอก, มีด; ศาสตร์, ตำรา; หมู่, เกวียน, กองเกวียน) สตฺถ+อํ ป.นป.
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
คจฺเฉยฺย (พึงไป, ดำเนิน) √คมุ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
สูโร (ผู้กล้า, นักรบ) สูร+สิ หลัง อการันต์ในปุงลิงค์ ให้แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส (รู ๖๖)
สงฺคามภูมิยํ (พื้นที่สงคราม, สมรภูมิ) สงฺคาม+ภูมิ > สงฺคามภูมิ+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น ยํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฆปโต สฺมึ ยํ วา. (รู ๑๘๐)
ปณฺฑิตฺวาทฺธคู ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อทฺธคู (บัณฑิต, นักปราชญ์ + คนเดินทางไกล) เป็นบทสนธิ เป็นอาเทสสรสนธิ คือ แปลงสระ โอ เป็น ว ในเพราะสระหลังได้บ้าง ด้วยสูตรว่า “ว โมทุทนฺตานํ.” (รู. ๒๐).
การแปลงโอ เป็น ว นี้ ประสงค์เอา โอ ที่ประกอบกับ ก-ข-ย-ต อักษรเป็นต้น เช่น
โก อตฺโถ = กฺวตฺโถ,
อหํ โข อชฺช = อหํ ขฺวชฺช,
โย อยํ = ยฺวายํ
โส อสฺส = สฺวสฺส,
ยโต อธิกรณํ = ยตฺวาธิกรณํ
คำว่า ได้บ้าง (กฺวจิ) ไม่ต้องแปลงก็ได้ คือ มีใช้ทั้งสองอย่าง เช่น โก อตฺโถ, หรือ กฺวตฺโถ (อรรถไหน?) ก็มีใช้เหมือนกัน.
วาณิโช (พ่อค้า, พาณิช) วาณิช+สิ
วิเทสคมโน (ผู้ไปสู่ต่างแดน, -ต่างประเทศ) วิเทสคมน+สิ วิ. วิเทสสฺส คมนํ ยสฺสาติ วิเทสคมโน, วาณิโช. (การไปสู่ต่างแดน มีอยู่แก่เขา เหตุนั้น เขา ชื่อว่า วิเทสคมนะ.) เป็นฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส.
ตถา (เหมือนอย่างนั้น, เช่นกัน) เป็นนิบาตใช้ในอรรถปฏิภาค (การเปรียบเทียบ).
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen