๖๖. ศิษย์มีครู งูมีพิษ
ตสฺมา อกฺขรโกสลฺลํ, สมฺปาเทยฺย หิตตฺถิโก;
อุปฏฺฐหํ ครุํ สมฺมา, อุฏฺฐานาทีหิ ปญฺจหิ ฯ
„เพราะเหตุนั้น ผู้ปรารถนาประโยชน์
พึงอุปัฏฐากครูด้วยกิจ ๕ ประการ
มีการลุกขึ้นรับเป็นต้นโดยชอบ
ยังความฉลาดในอักษรให้ถึงพร้อมเถิด.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๖๖ ปทรูปสิทธิ สูตรที่ ๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) ต+สฺมา สัพพนาม
อกฺขรโกสลฺลํ (ความเป็นผู้ฉลาดในอักษร) อกฺขร+โกสลฺล > อกฺขรโกสลฺล+อํ วิ. อกฺขเรสุ กุสลํ อสฺสาติ = อกฺขรกุสโล (ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส), อกฺขรกุสลสฺส ภาโว = อกฺขรโกสลฺลํ (ภาวตัทธิต)
สมฺปาเทยฺย (พึงให้ถึงพร้อม) สํ+√ปท+เณ+เอยฺย ภูวาทิ. เหตุกัตตุ.
หิตตฺถิโก (ผู้ปรารถนาประโยชน์) หิต+อตฺถิก > หิตตฺถิก+สิ วิ. หิเตน อตฺถิโก = หิตตฺถิโก ( ผู้มีความปรารถนา ด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือ หิตัตถิกะ) ตติยาตัปปุริสสมาส
อุปฏฺฐหํ (อุปัฏฐาก, รักใช้) อุป+√ฐา+อ+อนฺต > อุปฏฺฐหนฺต+สิ, ลง ห อาคม.
ครุํ (ครู) ครุ+อํ ทุติยาวิภัตติ
สมฺมา (โดยชอบ) เป็นนิบาตใชในอรรถตติยาวิภัตติ (สยํ สามํ สํ สมฺมา กินฺติ อิจฺเจเต ตติยตฺเถ)
อุฏฺฐานาทีหิ (ด้วยกิจ-มีการลุกขึ้นยืนเป็นต้น) อุฏฺฐาน+อาทิ > อุฏฺฐานาทิ+หิ, อาทิศัพท์ (ที่แปลว่า „เป็นต้น“) ในศัพท์นี้หมายถึงอะไรบ้าง เราจะไปศึกษาในวันพรุ่งนี้ครับ.
ปญฺจหิ (ห้า) ปญฺจ+หิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen