๘๕.๒ กิริยามารยาทส่อสกุล
ชลปฺปมาณํ กุมุทมาลํ, กุลปฺปมาณํ วินโยปมาณํ;
พฺยตฺติปฺปมาณํ กถิตวากฺยํ, ปถวิยา ปมาณํ ติณมิลาตํ ฯ
“ก้านดอกบัวเป็นประมาณแห่งน้ำ,
กิริยามารยาทส่อวงศ์ตระกลู;
คำสนทนาบ่งบอกถึงความฉลาด,
ความเหี่ยวของหญ้าบอกคุณภาพดิน.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๕.๒ โลกนีติ ๑๔, ธัมมนีติ ๒๕๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ชลปฺปมาณํ (ประมาณแห่งนำ้) ชล+ปมาณ > ชลปฺปมาณ+สิ วิ. ชลสฺส ปมาณํ = ชลปฺปมาณํ. (ประมาณแห่งน้ำ ชือว่า ชลัปปมาณะ) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
กุมุทมาลํ (ดอกไม้คือบัวขาว, ดอกบัวขาว) กุมุท+มาลา > กุมุทมาลา+อํ อิต. วิ. กุมุทํ เอว มาลา = กุมุทมาลา (ดอกไม้คือบัวขาว ชือว่า กุมุทมาลา) เป็นอวธารณปุพพบทกัมมธารยสมาส, แต่ในที่เป็น กุมุทมาลํ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความมาเป็นอย่างไร? (คงต้องมีการทำตัวพิเศษออกไปเป็นแน่ ขอฝากไว้ก่อน ) ส่วนในคัมภีร์อื่นศัพท์นี้เป็น กุมุทนาฬํ (ก้านดอกบัว) วิ. กุมุทสฺส นาฬํ = กุมุทนาฬํ. (ก้านแห่งดอกบัวขาว ชื่อว่า กุมุทนาฬะ) เป็นฉัฏฐีตัป. คำว่า นาฬ, นาล เป็น นปุงสกลิงค์ แปลว่า ลำต้น, ก้าน, หลอด, ท่อ, กล้อง
กุลปฺปมาณํ (ประมาณแห่งสกุล, มีตระกูลเป็นประมาณ) กุล+ปมาณ > กุลปฺปมาณ+สิ
วินโยปมาณํ (มีวินัยเป็นประมาณ) วินย+ปมาณ > วินโยปมาณ+สิ
พฺยตฺติปฺปมาณํ (ประมาณแห่งปัญญา) พฺยตฺติ+ปมาณ > พฺยตฺติปฺปมาณ+สิ
กถิตวากฺยํ (คำพูดที่สนทนา, ประโยคที่กล่าวแล้ว) กถิต+วากฺย > กถิตวากฺย+สิ
ปถวิยา (แห่งพื้นดิน, แผ่นดิน) ปถวี+ส อิต.
ปมาณํ (ประมาณ, เครื่องวัด) ปมาณ+สิ
ติณมิลาตํ (ความเหี่ยวแห่งของหญ้า) ติณ+มิลาต > ติณมิลาต+สิ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen