๘๑. ก้าวแรกมีค่า-เร็วช้าไม่สำคัญ
คจฺฉํ กิปิลฺลิโก ยาติ, โยชนานํ สตานิปิ;
อคจฺฉํ เวนยฺโยอปิ, ปทเมกํ น คจฺฉติฯ
“มดน้อยที่ไต่ไปอยู่ ย่อมไปได้,
แม้ระยะทางเป็นร้อยโยชน์;
แม้เป็นเวไนยบุคคล เมื่อไม่ย่างเท้าเดิน,
ก็ย่อมไปไม่ได้ แม้สิ้นทางก้าวเดียว.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คจฺฉํ (ไปอยู่, เมื่อไป) คจฺฉนฺต+สิ ปฐมา. ในเพราะสิวิภัตติ ให้แปลง นฺต เป็น อํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สิมฺหิ คจฺฉนฺตาทีนํ นฺตสทฺโท อํ. (รู ๑๐๗) = คจฺฉํ+สิ, ลบ สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔) รวมเป็น คจฺฉํ.
กิปิลฺลิโก (ปลวก) กิปิลฺลิก+สิ ปฐมา.
ยาติ (ไป, ถึง) √ยา+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
โยชนานํ (แห่งโยชน์ ท.) โยชน+นํ ฉัฏฐี.
สตานิปิ ตัดบทเป็น สตานิ+อปิ (แม้ร้อย ท.) สต+โย = สตานิ นปุ.
อคจฺฉํ (ไม่ไปอยู่, เมื่อไม่ไป) น+คจฺฉนฺต > อคจฺฉนฺต+สิ ปฐมา.
เวนยฺโยอปิ ตัดบทเป็น เวนยฺโย+อปิ (แม้บุคคลที่ควรแนะนำได้, เวไนยสัตว์)
ปทเมกํ ตัดบทเป็น ปทํ+เอกํ (ก้าวหนึง) ปท+อํ = ปทํ, เอก+อํ = อํ
น (ไม่,หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
คจฺฉติ (ย่อมไป) √คมุ+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ม อันที่สุดแห่งคมุธาตุเป็น จฺฉ ในเพราะวิภัตติทั้งปวงได้บ้าง ด้วยสูตรว่า คมิสฺสนฺโต จฺโฉ วา สพฺพาสุ. (รู ๔๔๒) = คจฺฉ+อ+ติ รวมเป็น คจฺฉติ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen