Dienstag, 4. August 2020

๖๗. วัตรห้าที่นักศึกษาควรทำ


๖๗. วัตรห้าที่นักศึกษาควรทำ

อุฏฺฐานา อุปฏฺฐานา , สุสฺสูสา ปาริจรียา;
สกฺกจฺจํ สิปฺปุคฺคหณา, ครุํ อาราธเย พุโธ

นักศึกษาผู้ฉลาดพึงยังครูให้ยินดี
(ด้วยวัตร ประการ เหล่านี้ คือ)
. ด้วยการลุกขึ้นรับ . ด้วยการอุปัฏฐาก 
. ด้วยการเชื่อฟัง  . ด้วยการปรนนิบัติรับใช้
และ . ด้วยการเรียนวิชาโดยเคารพ.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๖๗ ธัมมนีติ การิกา ๗๖)

..


ศัพท์น่ารู้ :

อุฏฺฐานา (การลุกรับ)  อุฏฺฐาน+สฺมา
อุปฏฺฐานา (การอุปัฏฐาก) อุปฏฺฐาน+สฺมา
(ด้วย, และ)  เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวม (สมุจฺจยตฺถ)
สุสฺสูสา (การเชื่อฟัง) สุสฺสูส+สฺมา
ปาริจรียา (การปรนนิบัติ) ปาริจริย+สฺมา, (ทีฆ อิ เป็น อี เพื่อรักษาฉันท์ได้บ้าง?) ในธัมมนีติเป็น ปริจาริกา, ในการิกาและปทรูปสิทธิมัญขรี เป็น สุปริคฺคหา.
สกฺกจฺจํ (โดยเคารพ) สกฺกจฺจ+อํ
สิปฺปุคฺคหณา (การเรียนวิชา, -ศิลปะ) สิปฺป+อุคฺคหณ > สิปฺปุคฺคหณ+สฺมา 
ครุํ (ครู, อาจารย์) ครุ+อํ
อาราธเย (พึงให้ยินดี, ให้พอใจ) อา+ราธ-โตสเน+ณย+เอยฺย  ทิวาทิ. เหตุกัตตุ.
พุโธ (ผู้รู้, ผู้ฉลาด) พุธ+สิ

..

ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ) มีข้อความต่างกันนิดหน่อยดังนี้

อุฏฺฐานา อุปฏฺฐานา , 
สุสฺสุสา ปริจาริกา;
สกฺกจฺจํ สิปฺปุคฺคหณํ, 
ครุํ อาราธเย พุโธ

ส่วนในคัมภีร์การิกา (การิกา ๗๖, และปทรูปสิทธิมัญชรี สนธิกัณฑ์ หน้า ๑๙) มี้ข้อความต่างในบาทที่สองเช่นกัน ด้ังนี้

อุฏฺฐานา อุปฏฺฐานา , 
สุสฺสูสา สุปริคฺคหา;
สกฺกจฺจํ สิปฺปุคฺคหณา, 
ครุํ อาราธเย พุโธ

ขอให้นักศึกษาพิจารณาเลือกจดจำนำไปใช้ตามอัธยาศัยเถิด.

Keine Kommentare: