๗๐. ความกรุณาของคนดี
นิคฺคุเณสุปิ สตฺเตสุ, ทยา กุพฺพนฺติ สาธโว;
น หิ สํหรเต ชุตึ, จนฺโท จณฺฑาลเวสฺเม ฯ
“คนดีทั้งหลายย่อมให้ความสงสารเอ็นดู,
แม้ในสัตว์ทั้งหลายผู้ไร้คุณงามความดี;
แท้จริง พระจันทร์ย่อมส่องแสงเฉพาะที่ หามิได้,
แต่จะสาดแสงในที่อยู่ของคนจัณฑาลด้วย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นิคฺคุเณสุปิ ตัดบทเป็น นิคฺคุเณสุ+อปิ (ผู้แม้ไม่มีคุณ, แม้ไร้คุณ) นิคฺคุณ+สุ, ส่วน อปิ เป็นอุปสัคใช้ในอรรถอเปกขัตถะ
สตฺเตสุ (ในสัตว์ ท.) สตฺต+สุ
ทยา (ความเอ็นดู, สงสาร, เห็นใจ, กรุณา) อิต. แจกเหมือน กญฺญา
กุพฺพนฺติ (กระทำ) √กร+โอ+อนฺติ ตนาทิ. กัตตุ. ตัวอย่างการทำตัวโดยย่อ ตามหลักไวยากรณ์ใหญ่ :
ลง โอ ปัจจัยด้วยสูตรว่า ตนาทิโต โอยิรา. (รู ๕๒๐) = กร+โอ,
ลง อนฺติ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า วตฺตมานา ติ อนฺติ, สิ ถ, มิ ม. ฯ. (รู ๔๒๖) = กร+โอ+อนฺติ,
แปลง โอ เป็น อุ ด้วยสูตรว่า อุตฺตโมกาโร. (รู ๕๒๑) = กร+อุ+อนฺติ
แปลง อ ของ กร เป็น อุ ด้วยสูตรว่า กรสฺสากาโร จ. (รู ๕๒๒) = กุร+อุ+อนฺติ
แปลง อุ เป็น ว ด้วยสูตรว่า ยวการา จ. (๕๐๕) = กุร+ว+อนฺติ
เพราะ ว ให้ลบ ร ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) = กุ+ว+อนฺติ
ซ้อน ว เป็น วฺว ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) = กุ+วฺว+อนฺติ
แปลง วฺว เป็น พฺพ ด้วยจศัพท์ในสูตรว่า โท ธสฺส จ. (รู ๒๗) = กุ+พฺพ+อนฺติ
แยก ลบ รวมสำเร็จเป็น กุพฺพนฺติ (ย่อมทำ, ย่อมสร้าง)
สาธโว (คนดี, สาธุชน, สัตบุรุษ ท.) สาธุ+โย
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
หิ (จริงอยู่, แท้จริง, เพราะว่า) นิบาตบอกเหตุ
สํหรเต (นำไปพร้อม, รวบรวม, ประมวล) สํ+√หร+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.
ชุตึ (แสง, ความสว่าง) ชุติ+อํ
จนฺโท (พระจันทร์, อีเกิ้ง) จนฺท+สิ
จณฺฑาลเวสฺเม (ที่อยู่ของคนจัณฑาล) จณฺฑาล+เวสฺม > จณฺฑาลเวสฺม+สฺมึ, วิ. จณฺฑาลานํ เวสฺโม = จณฺฑาลเวสฺโม (จณฺฑาลเวสฺม คือ ที่อยูของพวกคนจัณฑาล) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen