๖๙. หกนิสัยที่ควรละ
ฉ โทสา ปุริเสเนห, หาตพฺพา ภูติมิจฺฉตา;
นิทฺทา ตนฺที ภยํ โกโธ, อาลสฺยํ ทีฆสุตฺตตา ฯ
“ชนผู้ปรารถนาความเจริญในโลกนี้,
ควรละโทษ ๖ อย่าง คือ ๑. ชอบหลับ
๒. เฉื่อยชา ๓. ขี้กลัว ๔. ขี้โกรธ
๕. เกียจคร้าน ๖. ชอบนอนตื่นสาย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๖๙ นีติมัญชรี ๑๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ฉ (หก) ฉ+โย, เพราะ โย วิภัตติให้เอาที่สุดของสังขยาตั้ง ๕ (ปญฺจ) ถึง ๑๘ (อฏฺฐารส) กับ โย เป็น อ ด้วยสูตรว่า ปญฺจาทีนมกาโร. (รู ๒๕๑)
โทสา (โทษ ท.) โทส+โย, หลัง อ การันต์ปุงลิงค์ให้แปลง โย เป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)
ปุริเสเนห ตัดบทเป็น ปุริเสน+อิห ปุริเสน (อันบุรุษ) ปุริส+นา แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตร อโต เนน. (รู ๗๙) สัมพันธ์เป็น อนภิหิตกัตตาใน หาตพฺพา. อิห มาจาก อิม+ห ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ ลงด้วย ห และ ธ ปัจจัยหลัง อิม ศัพท์ ในอรรถสัตตมีวิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิมสฺมา หธา จ. (รู ๒๗๔) อิห, และ อิธ มักแปลว่า ในโลกนี้ = อิห โลเก, อิธ โลเก.
หาตพฺพา (ควรละ, สละ, ทิ้ง) หา+ตพฺพ+โย
ภูติมิจฺฉตา ตัดบทเป็น ภูตึ+อิจฺฉตา, ภูตึ (ความเจริญ, มั่นคง, รุ่งเรือง) ภูติ+อํ, ส่วน อิจฺฉตา (ผู้ปรารถนาอยู่) อิจฺฉนฺต+นา แปลง นา กับ นฺตุ เป็น ตา ได้บ้างด้วยสูตรว่า โตติตา สสฺมึนาสุ. (๑๐๒)
นิทฺทา (ความหลับ) นิทฺทา+สิ
ตนฺที (คนเฉี่อยชา, ประมาท, ขี้เกี้ยจ) ตนฺที+สิ ในนีติมัญชรี เป็น มชฺชํ (ความเมา, ความประมาท)
ภยํ (กลัว, ย่าน) ภย+อํ
โกโธ (ขี้โกรธ) โกธ+สิ
อาลสฺยํ (ความเป็นคนเกียจคร้าน, สันหลังยาว) อาลสฺย+สิ
ทีฆสุตฺตตา (ความเป็นคนนอนนาน, -นอนตื่นสาย, นอนขี้เซา) ทีฆสุตฺตตา+สิ, สองศัพท์ท้ายนี้เป็นภาวตัทธิตทั้งคู่ ขอให้ผู้ศึกษาลองตั้งวิเคราะห์ดูเถิด
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen