Montag, 24. August 2020

๘๖. กบน้อยในกะลา


๘๖. กบน้อยในกะลา

อปฺปสฺสุโต สุตํ อปฺปํ, พหุํ มญฺญติ มานวา;
สินฺธุทกมปสฺสนฺโต, กูเป โตยํว มณฺฑุโก

คนมีความรู้น้อย เป็นคนถือตัว, 
สำคัญความรู้ที่น้อยว่ารู้มากมาย;
เปรียบเหมือนกบที่ไม่เคยเห็นทะเล,
สำคัญน้ำในบ่อน้อยว่าใหญ่หลวง ฉะนั้น.“ 

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๖ โลกนีติ ๑๕ มหารหนีติ ๑๒๒, ธัมมนีติ ๖๒)

..


ศัพท์น่ารู้ :

อปฺปสฺสุโต (ผู้มีได้ยินมาน้อย, คนรู้น้อย, คนไม่ค่อยฉลาด) อปฺป+สุต > อปฺปสสฺสุต+สิ 
สุตํ (สิ่งที่ฟังมา, ที่เรียนมา, ความรู้, การศึกษา) สุตํ+อํ 
อปฺปํ (น้อย, นิดหน่อย, เล็กน้อย) อปฺป+อํ วิเสสนะใน สุตํ
พหุํ (มาก, มากมาย, หลาย) พหุ+อํ, 
มญฺญติ (ย่อมเห็น, ย่อมสำคัญ, ย่อมรู้) √มน++ติ ทิวาทิคณะ กัตตุวาจก
มานวา (ผู้มีมานะ, คนถือตัว) มานวนฺตุ+สิ วิ. มาโน อสฺส อตฺถีติ มานวา (การถือตัวของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขา ชื่อว่า ผู้มีมานะ) มาน+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต.
สินฺธุทกมปสฺสนฺโต ตัดบทเป็น สินฺธุทกํ+อปสฺสนฺโต (น้ำทะเล+ไม่เห็นอยู่) สินฺธุทก แยกเป็น สินฺธุ+ทก, หรือ สินฺธุ+ อุทก ก็ได้, แต่ในที่นี้ ควรเป็น สินฺธุ+ทก, เพราะไม่ต้องทีฆะ, ส่วน อปสฺสนฺโต (ไม่เห็นอยู่) +ปสฺสนฺต > อปสฺสนฺต+สิ , ปสฺสนฺต มาจากทิส+อนฺต ปัจจัยในกิตก์ แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ปสฺสทิสฺสทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)
กูเป (ในบ่อ) กูป+สฺมึ สัตตมีวิภัตติ, แปลง สฺมึ เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)
โตยํว ตัดบทเป็น โตยํ+อิว (ซึ่งน้ำ+ราวกะ, ดุจ), โตย+อํ ส่วน อิว เป็นนิบาตบอกอุปมา 
มณฺฑุโก (กบ, เขียด) มณฺฑุก+สิ 

..

Keine Kommentare: