Samstag, 8. August 2020

๗๑. นักปราชญ์กับไม้ละหุ่ง


๗๑. นักปราชญ์กับไม้ละหุ่ง

ยตฺร วิทฺวชฺชโน นตฺถิ, สีลาโฆฺย ตตฺร อปฺปธิปิ;
นิรตฺถปาทเม เทเส, เอรณฺโฑปิ ทุมายเต

ในที่แห่งใด ชนผู้มีปัญญา ย่อมไม่มี,
ในที่แห่งนั้น ชนผู้ควรสรรเสริญ อาจมีได้บ้าง,
เปรียบเหมือนในประเทศมีต้นไม้ไร้แก่น
แม้ต้นละหุ่ง ย่อมประพฤติตนดุจต้นไม้.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๑)

..


ศัพท์น่ารู้ :

ยตฺร (ในที่ใด) +ตฺร ปัจจัย ลง ตฺร, ปัจจัยหลังสัพพนามทั้งหลายในอรรถสัตตมีวิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตรฺถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖)
วิทฺวชฺชโน (คนมีความรู้, ผู้มีปัญญา, บัณฑิต, นักปราชญ์) วิทฺว+ชน > วิทฺวชฺชน+สิ
นตฺถิ (ย่อมมี หามิได้, ไม่มี) +อตฺถิ
สีลาโฆฺย, สิลาฆฺโย (ความเป็นผู้ควรได้รับการสรรเสริญ)  สิลาฆฺย+สิ
ตตฺร (ในที่นั้น) +ตฺร ปัจจัยในอรรถสัตตมีวิภัตติ
อปฺปธิปิ (?)  ศัพท์นี้ยังเดาไม่ออกว่าทำตัวอย่างไร? ขอท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะครับ จักเป็นพระคุณอย่างสูง.
นิรตฺถปาทเม, (นิรตฺถปาทเป ?) นิรตฺถ+ปาทป > นิรตฺถปาทป+สฺมึ แปลว่า  ที่ไม่มีต้นไม้.
เทเส (ประเทศ, สถานที่) เทส+สฺมึ
เอรณฺโฑปิ (แม้ไม้ละหุ่ง) เอรณฺโฑ+อปิ
ทุมายเต (ย่อมประพฤติตนดุจต้นไม้) ทุม+อาย+เต ลง อาย ปัจจัยในอรรถประพฤติหลังนามศัพท์ที่เป็นอุปมาของประธาน ด้วยสูตรว่า อาย นามโต กตฺตุปมานาทาจาเร. (รู ๕๓๖)

..

Keine Kommentare: