Sonntag, 9. August 2020

๗๒. ปลงได้ แต่อย่าปล่อยเกิน



๗๒. ปลงได้ แต่อย่าปล่อยเกิน

ฐานภฏฺฐา โสภนฺเต, ทนฺตา เกสา นขา นรา;
อิติ วิญฺญาย มติมา, สฏฺฐานํ ปริจฺจเช  

ฟัน ผม เล็บทั้งหลายและคนด้วย
พลัดหลุดจากที่แล้ว ย่อมไม่งาม;
 เหตุนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อรู้ชัดอย่างนี้แล้ว, 
จึงไม่ควรปล่อยตัวให้ทรุดโทรมเกินควร.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๒ มหารหนีติ ๗๘, ธัมมนีติ ๘๗)

..


ศัพท์น่ารู้ :

ฐานภฏฺฐา (พลัดแล้วจากที่ตั้ง) ฐานภฏฺฐ+โย
(ไม่) นิบาตบอกปฏิเสธ 
โสภนฺเต (งาม, สวย)  สุภ-ทิตฺติยํ++อนฺเต ภูวาทิ. กัตตุ.
ทนฺตา (ฟัน .) ทนฺต+โย 
เกสา (ผม .) เกส+โย 
นขา (เล็บ .) นข+โย 
นรา (คน, นระ, บุรุษ) นร+โย
อิติ (อย่างนี้, เพราะเหตุนั้น, อย่างนี้แล) นิบาตบอกนิทัสสน, เหตุ, วาก์ยปรสมัตติ 
วิญฺญาย (รู้แล้ว, รู้ชัดแล้ว, รู้แจ้งแล้ว) วิ+√ญา+ตฺวา หลังธาตุที่มีอุปสัคอยู่หน้าให้แปลง ตฺวา ปัจจัยเป็น ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑) = วิ+ญา+, ซ้อน ญฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๒๘) = วิ+ญฺญา+, รวมสำเร็จรูปเป็น วิญฺญาย (รู้แล้ว, เพราะรู้แล้ว).
มติมา (ผู้มีปัญญา) มติมนฺตุ+สิ, วิ. มติ ยสฺส อตฺถีติ มติมา (ปัญญามีอยู่แก่ผู้ใด เหตุนั้น ผู้นั้น ชือว่า มติมาผู้มีปัญญา มาจาก มติ+มนฺตุ ปัจจัย ในตทัสสัตถิตัทธิต,  แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อา สิมฺหิ. (รู ๙๘)
สฏฺฐานํ, สฐานํ, สณฺฐานํ (ที่ตั้ง, ที่ดำรง) สฏฺฐาน+อํ 
ปริจฺจเช  (สละรอบ, ปล่อยปะละเลย) ปริ+√จช-จาเค++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

..

Keine Kommentare: