๑๐๓. คนไม่รู้คุณและโทษ
คุณโทสมสตฺถญฺญู, ชโน วิภชเต กถํ;
อธิกาโร กิมนฺธสฺส, รูปเภโทปลทฺธิยํ ฯ
„คนไม่ความรู้ จะแยกแยะคุณและโทษ
ได้อย่างไร? คนที่ตาบอดก็เช่นกัน จะไปตัดสิน
แยกแยะรูปที่ตนได้สัมผัส ได้หรือ?“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๐๓)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คุณโทสมสตฺถญฺญู ตัดบทเป็น คุณโทสํ (ซึ่งคุณและโทษ) +อสตฺถญฺญู (ผู้ไม่รู้ตำรา, -ศาสตร์, หนังสือ), สตฺถ นป. แปลว่า ศาสตร์; ตำรา; เกวียน, กองเกวียน; ศัสตรา, หอก, มีด. ในที่นี้หมายถึงศาสตร์ หรือตำรา), แต่ถ้า สตฺถวาโห แปลว่า ผู้นำกองเกวียน.
ชโน (ชน, คน) ชน+สิ
วิภชเต (จำแนก, แยกแยะ, แบ่งออก) วิ+√ภช+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.
กถํ (อย่างไร?) นิบาตในอรรถการถาม
อธิกาโร (เจ้าหน้าที่; การหมายใจ, ความดี) อธิ+√กร+ณ > อธิการ+สิ
กิมนฺธสฺส ตัดบทเป็น กึ (หรือ, อะไร) นิบาต +อนฺธสฺส (แห่งคนตาบอด, อันธการ) อนฺธ+ส
รูปเภโทปลทฺธิยํ (ในการได้ความแตกต่างแห่ง) รูป+เภท > รูปเภท+อุปลทฺธิ > รูปเภโทปลทฺธ+สฺมึ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen