นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี,
น จ หาเยถ กทาจิ ตุลฺยเสวี;
เสฏฺฐมุปนมํ อุเทติ ขิปฺปํ,
ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชฯ
“บุรุษผู้คบหากับคนเลวทราม ย่อมเสื่อม,
ผู้คบหาคนที่เสมอกับตน ย่อมไม่เสื่อมเลย;
เมื่อจะคบคนที่ดีกว่าตน ควรรีบไปคบหา,
เพราะฉะนั้น จงคบแต่ผู้ที่ดีกว่าตนเถิด.“
(กวิทปฺปณนีติ ๑๐๕, ขุ. ชา. ๒๗/๙๘๒ มโนชชาดก)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นิหียติ (ย่อมเสื่อม, เลวทราม) นิ+√หา+ย อาคม+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. (ในเพราะ ย ปัจจัยแปลงที่สุดธาตุเป็น อี ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) ?) แต่ถ้าเป็นกรรมวาจก ในเพราะ ย ปัจจัยให้เอาสระที่สุดธาตุเป็น อี ได้แน่นอน ด้วยสูตรว่า ยมฺหิ ทาธามาฐาหาปามหมถาทีนมี. (รู ๔๙๓)
ปุริโส (บุรุษ, คน) ปุริส+สิ
นิหีนเสวี, (ผู้คบกับคนเลวทราม, -คนเสื่อม) นิหีน+เสวี > นิหีนเสวี+สิ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
จ (ด้วย, และ) นิบาตในอรรถรวมรวมเป็นต้น
หาเยถ (เสื่อม) หา+ย อาคม+อ+เอถ ภูวาทิ. กัตตุ. ในนิรุตติทีปนี ตอนอาขยาตกัณฑ์ ภูวาทิคณ, สรนฺตธาตุ, อาการนฺตธาตุรูป ท่านบอกว่าในลง ย อาคมได้บ้าง. ส่วนในปทรูปสิทธิให้สระที่สุดแห่งธาตุที่เป็น อา การันต์ เป็น อาย ด้วยสูตรว่า อาการนฺตานมาโย. (รู ๕๖๔)
กทาจิ (ในกาลบางคราว, ในกาลไหน) กึ+ทาจิ, กทา (ในกาลไหน)
ตุลฺยเสวี (ผู้คบ-, ผู้เสพกับคนเสมอกัน) ตุลฺย+เสวี > ตุลฺยเสวี+สิ
เสฏฺฐมุปนมํ ตัดบทเป็น เสฏฐํ+อุปนมํ, เสฏฐํ (ผู้ประเสริฐ, คนดีที่สุด) เสฏฐ+อํ, อุปนมํ = อุปนมนฺโต (น้อมเข้าไป, เข้าไปหาอยู่) อุป+นม+อ+อนฺต+สิ
อุเทติ (ย่อมเข้าไปหา, ย่อมขึ้น) อุ+ท อาคม+√อิ+อ+ติ
ขิปฺปํ (เร็ว, ด่วน, พลัน) ขิปฺป+อํ
ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น) ต+สฺมา, หรือ เป็นนิบาตบทก็ได้
อตฺตโน (กว่าตน) อตฺต+ส จตุตถี./ฉัฏฐี., แปลง ส เป็น โน ด้วยสูตรว่า สสฺส โน. (รู ๑๒๗) ในที่นี้ควรแปลว่า “กว่าตน” เพราะสัมพันธ์เข้ากับ อุตฺตร (อุตฺตรึ) ศัพท์ ให้ลง ฉัฏฐีวิภัตติในอรรถปัญจมีวิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทุติยาปญฺจมีนญฺจ. (รู ๓๑๘)
อุตฺตรึ (ยิ่งกว่า) อุตฺตริ+อํ
ภเช (ควรคบ, คบหา) √ภช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen