๑๐๖. อย่าง่อนแง่น อย่าคลอนแคลน
ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ, ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ;
อสํหีรํ อสํกุปฺปํ, ตํ วิทฺวา มนุพฺรูหเยฯ
บุคคลผู้มีปัญญา ย่อมเห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน,
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ,
พึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด.
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๐๖, ม. อุ. ๑๔/๔๒๗, ๕๓๔, ๕๔๔, ๕๕๒, ๕๖๓, ๕๖๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ ตัดบทเป็น ปจฺจุปฺปนฺนํ+จ, (ปัจจุบัน+ ก็) ปจฺจุปฺปนฺน+อํ เป็นวิเสสนะของ ธมฺมํ, ส่วน จ เป็นนิบาตบท
โย (ใด) ย+สิ, สัพพนาม ปฐมาวิภัตติ, อุทาหรณ์ เช่น โย ปุคฺคโล (อ. บุคคลใด), ยา อิตฺถี (อ. หญิงใด), ยํ กุลํ (อ. ตระกูลใด) เป็นต้น
ธมฺมํ (ซึ่งธรรม) ธมฺม+อํ,
ตตฺถ ตตฺถ (ใน..นั้น), ต+ถ, ตตฺถ ตตฺถ ธมฺเม (ในธรรมนั้นๆ), ลง ถ ปัจจัยหลังสัพพนนามในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตฺรถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖) ซ้อน ตฺ (อสทิสเทฺวภาวะ) ด้วยสูตรว่า วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒)
วิปสฺสติ (เห็นแจ้ง) วิ+ทิส+อ+ติ, แปลง ทิส เป็น ปสฺส ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ทิสสฺส ปสฺสทิสฺสทกฺขา วา. (รู ๔๘๓)
อสํหีรํ (ไม่ง่อนแง่น) อสํหีรนฺต+สิ
อสํกุปฺปํ (ไม่คลอนแคลน) อสํกุปฺปนฺต+สิ
ตํ (นั้น) ต+อํ, สัพพนาม ทุติยาวิภัตติ อุทาหรณ์ เช่น ตํ ธมฺมํ (ซึ่งธรรมนั้น), ตํ มาลํ (ซึ่งมาลาใด), ตํ จิตฺตํ (ซึ่งจิตใด) เป็นต้น
วิทฺวา (ผู้รู้, ผู้มีปัญญา, บัณฑิต) วิทฺวนฺตุ+สิ
มนุพฺรูหเย (พอกพูน, เจริญ) ตัดบทเป็น ม อาคม+อนุพฺรูหเย, อนุ+√พฺรูห+ณย+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen