Montag, 14. September 2020

๑๐๗. เหตุเจริญแห่งเกียรติยศ

 

๑๐๗. เหตุเจริญแห่งเกียรติยศ


ฉนฺทา โทสา ภยา โมหา, โย ธมฺมํ นาติวตฺตติ;

อาปูรติ ตสฺส ยโส,  สุกฺกปกฺเขว จนฺทิมา


ผู้ใดไมป่ระพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก 

ความชัง ความกลัว และเพราะความหลง,

ยศย่อมเจริญบริบูรณ์แก่ผู้นั้น, 

ดุจดวงจันทร์ในข้างขึ้น ฉะนั้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๐๗ ที. ปา. ๑๑/๑๗๗)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ฉนฺทา (เพราะรัก, ฉันทะ) ฉนฺท+สฺมา 

โทสา (เพราะชัง, โทสะ) โทส+สฺมา 

ภยา (เพราะกลัว, ภัย) ภย+สฺมา 

โมหา (เพราะหลง, โมหะ) โมห+สฺมา, แปลง สฺมา เป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)


โย (ใด) +สิ

ธมฺมํ (ซึ่งธรรม) ธมฺม+อํ 

นาติวตฺตติ ตัดบทเป็น +อติวตฺตติ (ไม่ประพฤติล่วง, ไม่ล่วงเกิน) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ, อติวตฺตติ มาจาก อติ+√วตฺตุ++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

อาปูรติ (ย่อมเต็ม, เจริญ) อา+√ปูร++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. ปูร ธาตุเป็นได้ทั้งหมวดภูธาตุและหมวดจุรธาตุ สมดังในธาตวัตถสังคหะ คาถา ๒๔๒ กล่าวไว้ว่า ปูโร ภูจุ ปูรณมฺหิ,

ตสฺส (ใด) + 

ยโส (ยศ, ชื่อเสียง) ยส+สิ, แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖)

สุกฺกปกฺเขว ตัดบทเป็น สุกฺกปกฺเข+อิว (ข้างขึ้น, สุกกปักษ์+ดุจ) สุกฺกปกฺข+สฺมึ, อิว เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ 

จนฺทิมา (พระจันทร์) จนฺทิมนฺตุ+สิ ในนิรุตติทีปนีและสัททนีติ ปทมาลา กล่าวว่า ลง อิมนฺตุ ปัจจัย กล่าวคือ จนฺท+อิมนฺตุ = จนฺทิมา เป็นอัสสัตถิตัทธิต วิ. จนฺโท อสฺส อตฺถีติ จนฺทิมา, หรือ จนฺทสํขาตํ วิมานํ อสฺส อตฺถีติ จนฺทิมา. (เทพบุตรมีวิมาน ชื่อว่า จันทิมา)


..

Keine Kommentare: