อตฺถํ มหนฺตมาปชฺช, วิชฺชํ สมฺปตฺติเมว จ;
จเรยฺยามานถทฺโธ โย, ปณฺฑิโต โส ปวุจฺจติ ฯ
“ผู้ใดประสบประสบประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่,
มีวิชาควารู้ดี และลุถึงสมบัติอันประเสริฐ;
ประพฤติตนไม่ถือตัวและไม่แข็งกระด้าง,
เหล่านักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่า บัณฑิต.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๐ มหารหนีติ ๓๔, ธัมมนีติ ๓๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อตฺถํ (อรรถ, เนื้อความ, ประโยชน์, ความเจริญ, ผล, สมบัติ) อตฺถ+อํ
มหนฺตมาปชฺช ตัดบทเป็น มหนฺตํ+อาปชฺช (ที่ยิ่งใหญ่, สำคัญ+ถึงแล้ว, บรรลุถึง)
มหนฺตํ = มหนฺต+อํ, อาปชฺช= อา+√ปท+ตฺวา+สิ แปลงตุนาทิปัจจัยเป็น ชฺช และลบที่สุดธาตุ ได้บ้าง ด้วยสูตรวา มหทเภหิ มฺมยฺหชฺชพฺภทฺธา จ. (รู ๖๔๕), เพราะ ตุนาทิปัจจัยเป็นนิบาตให้ลบ สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่า สพฺพามาวุโสปสคฺคนิปาตาทีหิ จ. (รู ๒๘๒)
วิชฺชํ (วิชา, ความรู้) วิชฺชา+อํ อิต.
สมฺปตฺติเมว ตัดบทเป็น สมฺปตฺตึ+เอว (สมบัติ+นั่นเทียว) สมฺปตฺติ+อํ = สมฺปตฺตึ (สิ่งอันเขาถึงพร้อม, สมบัติ, ความสมบูรณ์) อิต.
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวมเป็นต้น
จเรยฺยามานถทฺโธ ตัดบทเป็น จเรยฺย+อมานถทฺโธ (พึงประพฤติ+ผู้ไม่ถือตัวและไม่กระด้าง, ผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยมานะ) √จร+อ+เอยฺย = จเรยฺย ภูวาทิ. กัตตุ., มาน+ถทฺธ > มานถทฺธ, น+มานถทฺธ > อมานถทฺธ+สิ = อมานถทฺโธ (ผู้ไม่ถือตัวและไม่กระด้าง) คุณศัพท์
โย (ใด) = โย ปุคฺคโล (บุคคลใด) ย+สิ เป็นสัพพนาม
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา, คนฉลาด) ปณฺฑิต+สิ
โส (นั้น) = โส ปุคฺคโล (บุคคลนั้น) ต+สิ เป็นสัพพนาม
ปวุจฺจติ (อันเขาย่อมกล่าว, ย่อมถูกกล่าว, ถูกเรียก) ป+√วจ+ย+เต ภูวาทิ. กัมม. เพราะ ย ปัจจัยแปลง อ ที่ ว เป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูจรว่า วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย. (รู๔๗๘)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen