Montag, 21. September 2020

๑๑๓.๒ สิ่งที่ผู้มีปัญญาพึงทำ



 ๑๑๓. สิ่งที่ผู้มีปัญญาพึงทำ


จกฺขุมาสฺส ยถา อนฺโธ, โสตวา พธิโร ยถา;

ปญฺญวาสฺส ยถา มูโค, พลวา ทุพฺพโลริว;

อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน, สเยถ มตสายิตํฯ


ผู้มีปัญญาถึงมีตาดีก็พึงเป็นเหมือนคนตาบอด, 

ถึงมีหูดีก็พึงทำเป็นเหมือนคนหูหนวก; 

ถึงมีปัญญาก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้, 

ถึงมีกำลังก็พึงเป็นดุจคนทุรพล; 

แต่เมื่อสิ่งเป็นประโยชน์เกิดขึ้น, 

ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย 

(ก็ควรทําประโยชน์นั้นให้สำเร็จเถิด).“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๓. ธัมมนีติ ๕๐ ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๖ มหากัจจายนเถระ)


..


ศัพท์น่ารู้ :


จกฺขุมาสฺส ตัดบทเป็น จกฺขุมา+อสฺส (คนมีตา+พึงเป็น), = จกฺขุมนฺตุ+สิ วิ. จกฺขุ อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา (ดวงตาของเขา มีอยู่ เหตุนั้น เขา ชือว่า ผู้มีดวงตา) มาจาก จกฺขุ+มนฺตุ+สิ เป็นตทัสสัตถตัทธิต, ส่วน อสฺส มาจาก อส++เอยฺย แปลง อส กับที่สุดธาตุเป็น สฺส ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘)

ยถา (เหมือน, ดุจ, ดัง) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ

อนฺโธ (คนตาบอด) อนฺธ+สิ

โสตวา (คนมีหู) โสตวนฺตุ+สิ 

พธิโร (คนหูหนวก) พธิร+สิ 

ยถา (เหมือน, ดุจ, ดัง );

ปญฺญวาสฺส ตัดบทเป็น ปญฺญวา+อสฺส (ผู้มีปัญญา+พึงเป็น), = ปญฺญนฺตุ+สิ วิ. ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ จกฺขุมา (ปัญญาของเขา มีอยู่ เหตุนั้น เขา ชือว่า ผู้มีปัญญา)  มาจาก ปญฺญา+วนฺตุ+สิ เป็นตทัสสัตถตัทธิต

มูโค (คนใบ้) มูค+สิ, 

พลวา (ผู้มีกำลัง) พลวนฺตุ+สิ 

ทุพฺพโลริว ตัดบทเป็น ทุพฺพโล+ อาคม+อิว (คนทุรพล+ดุจ, เหมือน) ทุพฺพล+สิ, อิว เป็นนิบาตบอกการเปรียบเทียบ

อถ (แต่, อนึง, ลำดับนั้น) เป็นนิบาตทำบทให้เต็ม หรือใช้ในอรรถการถามเป็นต้น

อตฺเถ (เมื่ออรรถ, ประโยชน์, เนื่อความ, ความต้องการ) อตฺถ+สฺมึ 

สมุปฺปนฺเน (เกิดขึ้นแล้ว) สมุปฺปนฺน+สฺมึ, 

สเยถ (พึงนอน) สิ++เอถ วุทธิ อิ เป็น เอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ . (๔๓๔), แปลง เอ เป็น อย ด้วยสูตรว่า เอ อย. (รู ๔๙๑)

มตสายิตํ (ในการนอนในเวลาใกล้ตาย, นอนรอความตาย) มตสายิต+อํ ลงทุติยาวิภัตติในอรรถกาลสัตตมีได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตติยาสตฺตมีนญฺจ. (รู ๒๙๐)


..

Keine Kommentare: