ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา, ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคลํ;
โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย, ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ ฯ
“บุคคลพึงเว้นบาปมิตรแล้วคบหากัลยาณมิตร,
และเมื่อหวังความสุขอันไม่หวั่นไหว
พึงตั้งอยู่ในโอวาทของกัลยาณมิตรนั้นเถิด.”
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๔, มหารหนีติ ๖๒, ธัมมนีติ ๑๔๕, ขุ. เถร. ๒๖/๓๒๒ วิมลเถร)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปาปมิตฺเต (มิตรชั่ว, เพื่อนบาป, สหายลามก) ปาก+มิตฺต > ปาปมิตฺต+โย
วิวชฺเชตฺวา (เว้น, ละเว้น) วิ+วชฺช+อ+ตฺวา+สิ, วชฺช - วชฺชเน ธาตุในอรรถการเว้น สัททนีติ ธาตุมาลา จัดไว้ในจุราทิคณะ.
ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคลํ ตัดบทเป็น ภเชยฺย+อุตฺตมปุคฺคลํ
ภเชยฺย (พึงคบหา) ภช+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
อุตฺตมปุคฺคลํ (บุคคลผู้ประเสริฐ, อุตมบุคคล, กัลยาณมิตร) อุตฺตม (สูงสุด, อุดม) +ปุคฺคล (บุคคล, คน) > อุตฺตมปุคฺคล+อํ
โอวาเท (ในโอวาท, คำสอน) โอวาท+สฺมึ
จสฺส ตัดบทเป็น จ+อสฺส (และ+บุคคลนั้น) ต+ส = อสฺส สัพพนาม, แปลง ต เป็น อ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สสฺมาสฺมึสํสาสฺวตฺตํ. (รู ๒๑๓).
ติฏฺเฐยฺย (พึงตั้ง, ดำรง) ฐา+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐา ติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)
ปตฺเถนฺโต (ปรารถนาอยู่) ปตฺถ+เณ+อนฺต > ปตฺเถนฺต+สิ
อจลํ (ที่ไม่หวั่นไหว, ไม่เคลื่อนที่, ที่แน่นอน) อจล+อํ
สุขํ (ความสุข) สุข+อํ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen