Mittwoch, 23. September 2020

๑๑๕. ข้ออ้างทางเสื่อม



 ๑๑๕. ข้ออ้างทางเสื่อม


อติสีตํ อติอุณฺหํ, อติสายมิทํ อหุ;

อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต, อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเวฯ


ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยชายหนุ่ม

ที่ละทิ้งการงาน ด้วยอ้างเลศว่า

อากาศหนาวเกินไป อากาศร้อนเกินไป

เวลานี้เย็นค่ำเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๕ มหารหนีติ ๖๕, ธัมมนีติ ๒๓๐ นีติมัญชรี ที. ปา. ๑๑/๑๘๕ สิงคาลกสูตร)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อติสีตํ (หนาวนัก, หนาวเกินไป)  อติ (ยิ่ง, เกิน, ล่วง) + สีต (ความหนาว) > อติสีต+สิ

อติอุณฺหํ (ร้อนนัก, ร้อนเกินไป) อติ+อุณฺห > อติอุณฺห+สิ

อติสายมิทํ ตัดบทเป็น อติสายํ+อิทํ (เย็นมากแล้ว+นี้, เวลานี้)

อหุ (เป็นแล้ว) +หู+อี ภูวาทิ. กัตตุ. อัชชตนี. ลบ อี วิภัตติ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘) แล้วรัสสะ อู เป็น อุ สำเร็จเป็น อหุ 

อิติ  (ว่า, อ้างเลศอย่างนี้ว่า) เป็นนิบาติบท

วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต (ผู้มีกรรมสละทิ้งแล้ว, ผู้ละเลยหน้าที่การงาน) วิสฺสฏฺฐ (ละทิ้ง)+กมฺมนฺต (การงาน) > วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺต+โย

อตฺถา (ประโยชน์, ความดี, เนื้อความ, อรรถ .) อตฺถ+โย 

อจฺเจนฺติ (ย่อมล่วงเลย, ล่วงผ่าน) อติ+อิ++อนฺติ  ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ติ เป็น ด้วยสูตรว่า สพฺโพ จํ ติ. (รู ๒๒), ซ้อน จฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐). วุทธิ อิ เป็น เอ ด้วยสูตรว่า อญฺเญสุ . (รู ๔๓๔)

มาณเว (ซึ่งมาณพ, คนหนุ่ม . ) มาณว+โย


..

Keine Kommentare: