ยสฺมึ เทเส น สมฺมาโน, น ปิโย น จ พนฺธโว;
น จ วิชฺชาคโม โกจิ, น ตตฺถ ทิวสํ วเสฯ
“ณ ที่ใด ไม่มีความนับถือกัน,
ไม่มีความรักให้กัน ไม่มีญาติพวกพ้อง;
ไม่มีการศึกษาสิ่งเป็นประโยชน์เลย,
ณ ที่นั้น ไม่ควรอยู่นานสิ้นวันหนึ่ง.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๗ โลกนีติ ๑๑๔ มหารหนีติ ๖๙ ธัมมนีติ ๘๒ จาณักยนีติ ๓๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ยสฺมึ (ใด) ย+สฺมึ, สัพพนาม
เทเส (ในประเทศ, สถานที่) เทส+สฺมึ
น (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ
สมฺมาโน (มีความเคารพกัน, มีความนับถือกัน, การบูชา) สมฺมาน+สิ
ปิโย (ความรัก, เปรมปรีย์, แช่มชื่นใจ) ปีติ+สิ โลกนีติ เป็น เปมํ, ธัมมนีติ เป็น ปีติ
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวม (สมุจจยัตถะ)
พนฺธโว (มีญาติ, พวกพ้อง, เผ่าพันธุ์ ท.) พนฺธุ+โย แปลง โย เป็น โว ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ลโต โวกาโร จ. (รู ๑๕๕), แปลง อุ เป็น อ ด้วยสูตรว่า เวโวสุ โล จ. (๑๕๖) สำเร็จรูปเป็น พนฺธโว (ญาติ ท.) แจกและทำตัวเหมือน ภิกฺขุ (พระภิกษุ)
วิชฺชาคโม (การเรียน-, การศึกษาวิชา) วิชฺชา+อาคม > วิชฺชาคม+สิ วิ. วิชฺชาย อาคโม วิชฺชาคโม (การเรียนวิชา ชื่อว่า วิชฺชาคโม) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
โกจิ (ไรๆ, บางอย่าง, บ้างเลย) -ปุงลิงค์, กาจิ -อิตฺถีลิงค์, กิญฺจิ -นปุงสกลิงค์ มาจาก กึ+สิ+จิ
ตตฺถ (ในประเทศนั้น = ตสฺมึ ปเทเส) ต+ถ ลง ถ ปัจจัยหลังสัพพนามทั้งหลาย ในอรรถสัตตมีวิภัตติ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตฺรถ สตฺตมิยา สพฺพนาเมหิ. (รู ๒๖๖)
ทิวสํ (สิ้นวัน, ตลอดวัน) ทิวส+อํ
วเส (พึงอยู่, พึงพัก, ควรอาศัย) √วส+อ+เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ.
..
คราวนี้ขออนุญาตนำคาถาเดียวกันนี้ที่มากจากนีติต่าง ๆ มาลองเปรียบเทียบกันดู อาจจะทำให้ได้ข้อคิดบางอย่าง เช่นว่า ทำไม่จึงมีศัพท์แตกต่างกัน ท่านโบราณาจารย์ท่านมีแนวคิดเช่นไร เพราะบางคำไม่สามารถแปลเหมือนกันได้ ขอท่านผู้ช่วยกันพิจารณาและวิจารณ์ตามอัธยาศัยเถิด.
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๑๔) มีข้อความต่างกันดังนี้
ยสฺมึ ปเทเส น มาโน,
น เปมํ น จ พนฺธวา;
น จ วิชฺชาคโม โกจิ,
น ตตฺถ ทิวสํ วเสฯ
ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๖๙) มีข้อความต่างกันดังนี้
ยสฺมึ เทเส น สมฺมาโร,
น ปิติ น จ พนฺธวา;
น จ วิชฺชาคโม โกจิ,
น ตตฺถ วสตี วสฺเสฯ
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๘๒) มีข้อความต่างกันดังนี้
ยตฺถ เทเส น สมาโน,
น ปีติ น จ พนฺธโว;
น จ วิชฺชาคโม โกจิ,
น ตตฺถ ทิวสํ วเสฯ
และในจาณักยนีติ (จาณฺกยนีติ ๓๗) มีข้อความต่างกันดังนี้
ยสฺมึ เทเส น สมฺมานํ,
น ปีติ น จ พนฺธวา;
น จ วิชฺชาคโม โกจิ,
ตํ เทสํ ปริวชฺชเยฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen