นภสฺส ภูสนํ จนฺโท, นารีนํ ภูสนํ ปติ;
ฉมาย ภูสนํ ราชา, วิชฺชา สพฺพสฺส ภูสนํฯ
„พระจันทร์เป็นเครื่องประดับท้องฟ้า,
ภัสดาเป็นเครื่องประดับของนารีทั้งหลาย;
พระราชาเป็นเครื่องประดับของแผ่นดิน,
วิชาเป็นเครื่องประดับของคนทั้งปวง.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๙ จาณักยนีติ ๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
นภสฺส (แห่งฟ้า, ท้องฟ้า, ท้องนภา) นภ+ส ฉัฏฐีวิภัตติ, ลง ส อาคม ด้วยสูตรว่า สาคโม เส. (รู ๘๖)
ภูสนํ (เครื่องประดับ) ภูสน+สิ ปฐมาวิภัตติ, แปลง สิ เป็น อํ แน่นอน ด้วยสูตรว่า สึ. (รู ๑๙๕)
จนฺโท (พระจันทร์) จนฺท+สิ ปฐมา, แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖)
นารีนํ (แห่งหญิง ท.) นารี+นํ ฉัฏฐี
ปติ (สามี, ภัสดา, ผัว) ปติ+สิ ปฐมา, ลบ สิ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔)
ฉมาย (แห่งแผ่นดิน, ประเทศ) ฉมา+ส ฉัฏฐี, แปลง ส เป็น อาย ด้วยสูตรว่า ฆโต นาทีนํ. (รู ๑๗๙), แยกลบรวมสำเร็จรูป
ราชา (พระราชา) ราช+สิ ปฐมา, แปลง สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า สฺยา จ. (รู ๑๑๓)
วิชฺชา (วิชา, ความรู้, การศึกษา) วิชฺชา+สิ ปฐมา, ลบ สิ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔)
สพฺพสฺส (ทั้งสิ้น, ทั้งปวง) สพฺพ+ส ฉัฏฐี, ทำตัวเหมือน นภสฺส
ส่วนในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๘) มีข้อความแตกต่างกันนิดหน่อยดังนี้
ตารานํ ภูสณํ จนฺโท,
นารีนํ ภูสณํ ปติ;
ปุถพฺยา ภูสณํ ราชา,
วิชฺชา สพฺพสฺส ภูสณํฯ
“หมู่ดารา มีพระจันทร์เป็นเครื่องประดับ,
เหล่านารี มีสามีเป็นเครื่องประดับ;
ประเทศมีพระราชาเป็นเครื่องประดับ,
บัณฑิตทั้งปวงมีวิชาเป็นเครื่องประดับ.“
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen