Freitag, 4. September 2020

๙๗. ไม่ควรดูหมิ่นกัน


๙๗. ไม่ควรดูหมิ่นกัน

หีนปุตฺโต ราชมจฺโจ, พาลปุตฺโต ปณฺฑิโต;
อธนสฺส ธนํพหุ, ปุริสานํ มญฺญถ

ลูกคนตำ่ศักดิ์ อาจได้เป็นราชอำมาตย์,
ลูกคนโง่ อาจได้เป็นบัณฑิต,
ลูกคนจน อาจได้เป็นเศรษฐี,
เพราะฉะนั้น จงไม่ควรดูหมิ่นกัน.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๗ โลกนีติ ๒๗ ธัมมนีติ ๒๓๕)

..


ศัพท์น่ารู้ :

หีนปุตฺโต (ลูกคนเลว, คนมีตระกูลต่ำ) หีนปุตฺต+สิ, วิ. หีนสฺส ปุตฺโต หีนปุตฺโต (บุตรของคนต่ำช้า ชื่อว่า หีนปุตฺต) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
ราชมจฺโจ (ราชอำมาตย์) ราชมจฺจ+สิ, วิ. รญฺโญ อมจฺโจ ราชมจฺโจ (อำมาตย์ ของพระราชา ชื่อว่า ราชมจฺจ) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส, ส่วนในคัมภีร์อื่นศัพท์นี้ เป็น ราชามจฺจ โดยทำทีฆะ เป็นศัพท์ที่สมควรกว่า
พาลปุตฺโต (ลูกคนโง่, บุตรคนพาล) พาลปุตฺต+สิ, วิ. พาลสฺส ปุตฺโต พาลปุตฺโต (บุตรของคนพาล ชื่อว่า พาลปุตฺต) เป็นฉัฏฐีตัปปุริสสมาสเหมือนกัน
(ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถสมุจจยัตถะ-รวบรวม
ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ
อธนสฺส (ของคนไม่มีทรัพย์, คนจน) อธน+ 
ธนํพหุ (ผู้มีทรัพย์มาก, คนรวย) ธนํพหุ+สิ, วิ. ธนานิ พหูนิ ยสฺสาติ ธนํพหุ (ทรัพย์ ของผู้ใด ย่อมมีมาก เหตุนั้นผู้นั้น ชื่อว่า ธนํพหุ) ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส, ศัพท์ว่า ธนํพหุ นี้ วิเคราะห์พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อนะครับ.
ปุริสานํ (บุรุษ ., คน .) ปุริส+นํ
(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 
มญฺญถ (สำคัญ, รู้) √มน++เอถ, ถ้า อว อุปสัคเป็นบทหน้าแปลว่าดูหมิ่น, ดูถูก, ดูแคลนในธัมมนีติ เป็น นาวมญฺญเร (ไม่ควรดูหมิ่น)

ในคัมภีร์ธัมมนีติ (คาถา ๒๓๕) มีการใช้ศัพท์ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ดังนี้

หีนปุตฺโต ราชามจฺโจ,  พาลปุตฺโตปิ ปณฺฑิโต;
อธนสฺส ปุตฺโต เสฏฺฐิ,  ปุริเส นาวมญฺญเรฯ
..

Keine Kommentare: