๙๘. เหมือนคนใบ้เห็นฝัน
โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน, พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ;
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ, กเถตุมฺปิ น อุสฺสเห ฯ
“ศิษย์คนใดย่อมเรียนศิลปะทีละมาก ๆ,
เพราะความโลภในความวิชาความรู้;
ศิษย์คนนั้น ย่อมไม่อาจบอกสิ่งที่ตนเรียนได้,
เหมือนคนใบ้ ที่เห็นความฝัน ฉะนั้น.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๘ โลกนีติ ๓๘, ธัมมนีติ ๒๗)
..
ศัพท์น่ารู้ :
โย (ใด) สิสฺโส (ศิษย์, นักศึกษา)
สิปฺปโลเภน (ด้วยความโลภในศิลปะ, -วิชา) สิปฺป+โลภ > สิปฺปโลภ+นา, วิ. สิปเปสุ โลโภ สิปฺปโลโภ (ความโลภในวิชา ชื่อว่า สิปฺปโลภ) สัตตมีตัปปุริสสมาส.
พหุํ (มาก, มากมาย, เยอะแยะ, หลากหลาย, ) พหุ+อํ
คณฺหาติ (ถือเอา, จับ, ยึด, เรียน) √คห+ณฺหา+ติ, คหาทิ. กัตตุ. ลง ณฺหา ปัจจัย ด้วยสูตรว่า คหาทิโต ปฺปณฺหา. (รู ๕๑๗), ในเพราะ ณฺหา ปัจจัย ให้ลบ ห แห่ง คหธาตุ ด้วยสูตรว่า หโลโป ณฺหามฺหิ. (๕๑๘) สำเร็จรูปเป็น คณฺหาติ, หรือ คณฺหติ ก็ได้ ในเพราะทำเป็นรัสสะ
ตํ (นั้น) ต+อํ, สิปฺปํ (ซึ่งศิลปะ, -ความรู้, วิชา) สิปฺป+อํ
มูโคว ตัดบทเป็น มูโค+อิว (คนใบ้+ดุจ, เหมือนคนใบ้)
สุปินํ (ความฝัน) สุปิน+อํ
ปสฺสํ (เห็นอยู่) √ทิส+อ+อนฺต > ปสฺสนฺต+อํ, ปุพฺพกาลกิริยาใน อุสฺสาเห
กเถตุมฺปิ ตัดบทเป็น กเถตุํ+อปิ (เพื่ออันกล่าว+แม้, แม้เพื่ออันกล่าว), √กถ+เณ+ตุํ > กเถตุํ+สิ ลบ สิ วิภัตติ.,
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
อุสฺสเห (พึงอุตส่าห์, -สามารถ) อุ+√สห+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
ส่วนในธัมมนีติ (คาถา ๒๗) มีข้อความที่แตกต่างจากคัมภีร์โลกนีติและกวิทัปปณนีติ ในบาทคาถาที่ ๒ และ ๔ ดังนี้
โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน, พหุํ พหุํว คณฺหาติ;
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ, น สกฺกา กถิตุํ ปรํฯ
“นักศึกษาใดเรียนวิชาทีละมากๆ,
เพราะความโลภในความรู้;
เขาจะไม่สามารถบอกสิ่งที่เรียนกะคนอื่นได้,
เปรียบเหมือนคนใบ้ที่เห็นความฝัน ฉะนั้น.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen