๑๒๑. เบื้องหลังความสำเร็จ
ขเณน กเณน เจว, วิชฺชามตฺถญฺจ สาธเย;
ขณจาเค กุโต วิชฺชา, กณจาเค กุโต ธนํฯ
“การศึกษาพึงสำเร็จได้ ด้วยกาลเวลา,
ทรัพย์พึงมีได้ ด้วยความขยัน;
เมื่อไม่มีเวลา ความรู้จักมีแต่ที่ไหน?
เมื่อขาดความขยัน จักมีทรัพย์มาแต่ไหน?“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๒๑)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ขเณน (ขณะ, กาล, เวลา) ขณ+นา
กเณน (รำข้าว, ส่วนเล็กที่สุด, ปรมาณู) กณ+นา ในทีนี้ขอแปลว่า ความขยัน ถ้าแปลตามศัพท์อาจจะหมายถึง การประหยัด หรือเปล่า?
เจว แยกบทว่า จ+เอว (ด้วย, และ+นั่นเทียว, เท่านั้น) เป็นนิบาติ เมื่อมี จ ศัพท์สองตัว ๆ หน้านิยมใช้คู่กับ เอว ศัพท์
วิชฺชามตฺถญฺจ ตัดบทเป็น วิชฺชา (วิชา, ความรู้, การศึกษา)+ ม อาคม+อตฺถํ (ประโยชน์, ทรัพย์สิน)+จ (ด้วย, และ),
สาธเย (สำเร็จ, ให้สำเร็จ) สาธ+ณย+เอยฺย ภูวาทิ. เหตุกัตตุ.
ขณจาเค (ในเพราะสละขณะ, -กาลเวลา) ขณ+จาค > ขณจาค+สฺมึ
กุโต (แต่ที่ไหน) กึ+โต
วิชฺชา (วิชา, ความรู้) วิชฺชา+สิ
กณจาเค (ในเพราะสละความขยัน, -เพียร) กณ+จาค > กณจาค+สฺมึ
กุโต (แต่ที่ไหน) กึ+โต
ธนํ (ทรัพย์) ธน+สิ
หมายเหตุ: คาถานี้ อาจแปลได้หลายนัย กล่าวคือ ทั้งวิชาและทัพย์ จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยทั้งกาลเวลาและความขยัน. แต่พอมาบาทที่ ๓ และบาทที่ ๔ ท่านกล่าวแยกกัน ก็เลยต้องแปลแยกกันไปด้วย.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen