Sonntag, 6. September 2020

๙๙. ไม้เรียวสร้างคนดี


๙๙. ไม้เรียวสร้างคนดี

ภิชฺเชตุํ กุมฺภกาโร, โสเภตุํ กุมฺภ ฆฏติ;
ขิปิตุํ อปาเยสุ, สิสฺสานํ วุฑฺฒิการณา

ช่างหม้อไม่ได้ตีหม้อเพื่อทำลายให้แตก,
แต่ตีหม้อเพื่อให้ได้รูปงามน่าใช้สอย;
ครูอาจารย์ไม่ได้เฆี่ยนตีศิษย์เพื่อให้ตกไปในอบาย,
แต่เฆี่ยนตีเพราะหวังความเจริญแก่ศิษย์ทั้งหลาย.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๙ โลกนีติ ๓๙)

..

ศัพท์น่ารู้ :

(ไม่, หามิได้)  นิบาตบอกปฏิเสธ
ภิชฺเชตุํ (เพื่อทำลาย) √ภิท++เณ+ตุํ ทิวาทฺ. เหตุกัตตุ. อันที่จริงแล้ว ตุํ ปัจจัยนี้จัดเป็นนิบาต และยังประกอบด้วยวิภัตตินามหมวดปฐมาวิภัตติ (แปลว่า อันว่า) และจตุตถีวิภัตติ (แปลว่า เพื่อ) ได้,  เพราะความที่เป็นนิบาต ให้ลงวิภัตตินามและลบทิ้งเสีย ด้วยสูตรว่า สพฺพาสมาวุโสปสคฺคนิปาตาทีหิ . (รู ๒๘๒) แต่รูปที่แยกธาตุปัจจัยด้านบนนั้น ได้ละวิภัตตินามไว้ในฐานความเข้าใจกัน ถ้าเขียนให้เต็ม ก็คือภิท++เณ+ตุํ+ (หรือ +สิ) 
กุมฺภกาโร (ช่างหม้อ) กุมฺภ+การ > กุมฺภการ+สิ, วิ. กุมฺภํ กโรตีติ กุมฺภกาโร (ผู้กระทำหม้อ ชื่อว่า กุมฺภการ) กุมฺภ+√กร++สิ 
โสเภตุํ (เพื่อให้งาม, ให้สวย) สุภ+เณ+ตุํ 
กุมฺภ = กุมฺภํ (หม้อ) กุมฺภ+อํ
ฆฏติ (พยายาม, ตบแต่ง, ทุบตี); √ฆฏ++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. ในโลกนีติ เป็น ฆฏฺฏติ
ขิปิตุํ (เพื่อตกไป, ทิ้งไป, ซัดไป, ขว้างไป) √ขิป+อิ+ตุํ 
อปาเยสุ (ในอบาย .) อปาย+สุ
สิสฺสานํ (แก่ศิษย์ .) สิสฺส+นํ
วุฑฺฒิการณา (เพราะเหตุแห่งความเจริญ) วุฑฺฒิ+การณ > วุฑฺฒิการณ+สฺมา

..

Keine Kommentare: