๑๐๘. ผู้สมควรได้ยศ
ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน, สณฺโห จ ปฏิภานวา;
นิวาตวุตฺติ อถทฺโธ, ตาทิโส ลภเต ยสํ ฯ
คนมีปัญญาถึงพร้อมด้วยศีล,
เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ;
มีความประพฤติเจียมตนไม่กระด้าง,
บุคคลผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๐๘, นรทักขทีปนี ๑๗๓, ที. ปา. ๑๑/๒๐๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ปณฺฑิโต (บัณฑิต) ปณฺฑิต+สิ แปลง สิ หลัง อการันต์ในปุงลิงค์เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖)
สีลสมฺปนฺโน (ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล) สีล+สมฺปนฺน > สีลสมฺปนฺน+สิ
สณฺโห (เกลี้งเกลา, อ่อนนุ่ม, สุภาพ, ละเอียด) สณฺห+สิ
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาตใช้ในอรรถรวบรวมเป็นต้น
ปฏิภานวา (มีไวพริบ, ปฏิภาณ) ปฏิภานวนฺตุ+สิ แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อา สิมฺหิ. (รู ๙๘)
นิวาตวุตฺติ (ประพฤติถ่อมตัว, -เจียมตน) นิวาต (ไม่มีลม) + วุตฺติ (ความประพฤติ) > นิวาตวุตฺติ+สิ ลบ สิ วิภัตติ ด้วสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔)
อถทฺโธ (แข็ง, กระด้าง, ทื่อ, ช้า, มั่นคง) อถทฺธ+สิ
ตาทิโส (ผู้เช่นนั้น) ตาทิส+สิ, วิ. ตมิว นํ ปสฺสติ, โส วิย ทิสฺสตีติ วา ตาทิโส เขาย่อมเห็นชนนั้นรวาวกะว่าบุคคลนั้น, หรือ เขาย่อมปรากฏเพียงดังบุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ตาทิโส (ผู้เช่นนั้น) ต+ทิส+กฺวิ+สิ, ลง กฺวิ, ลบ กฺวิ ปัจจัยด้วยสูตรว่า กฺวิ จ., กฺวิโลโป จ. (รู ๕๘๔, ๕๘๕) ทีฆะสระที่สุดของสัพพนาม ด้วยสูตรว่า อิยตมกิเอสานมนฺตสฺสโร ทีฆํ กฺวจิ ทิสสฺส คุณํ โท รํ สกฺขี จ. (รู ๕๘๘) แปลง สิ เป็น โอ สำเร็จรูป ตาทิโส (ผู้เช่นนั้น)
ลภเต (ย่อมได้) ลภ+อ+เต ภูวาทิ. กัตตุ.
ยสํ (ซึ่งยศ, ชื่อเสียง, ตำแหน่ง) ยส+อํ
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen