โย จ สีตญฺจ อุณฺหญฺจ, ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ;
กรํ ปุริสกิจฺจานิ, โส สุขํ น วิหายติฯ
“ผู้ใดไม่สำคัญความหนาว
และความร้อน, ยิ่งไปกว่าหญ้า;
ทํากิจทั้งหลายของบุรุษอยู่,
ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อม จากความสุขเลย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๖, มหารหนีติ ๖๖, ธัมมนีติ ๑๙๙ นรทักขทีปนี ๑๗๒ ที. ปา. ๑๑/๑๘๕ สิงคาลกสูตร )
..
ศัพท์น่ารู้ :
โย (ใด) ย+สิ สัพพนาม
จ (ส่วน) นิบาตใช้ในอรรถปักขันตรโชดก
สีตญฺจ ตัดบทเป็น สีตํ+จ (ความเย็น, ความหนาว+ ด้วย) สีต+อํ
อุณฺหญฺจ ตัดบทเป็น อุณฺหํ+จ (ความร้อน+ด้วย) อุณฺห+อํ, จ สองศัพท์หลังเป็นนิบาตในอรรถรวมรวบ
ติณา (หญ้า) ติณ+สฺมา
ภิยฺโย (ยิ่ง) นิบาติ เป็นทุติยาวิเสสนะ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
มญฺญติ (ย่อมสำคัญ, รู้) √มน+ย+ติ ทิวาทิคณะ, ลง ย ปัจจัยด้วยสูตรว่า ทิวาทิโต โย. (รู ๕๑๐), แปลง นย เป็น ญ ด้วยสูตรว่า ตถา กตฺตริ จ. (รู ๕๑๑) ซ้อน ญฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐) สำเร็จรูปเป็น มญฺญติ
กรํ (ทำอยู่) กร+โอ+อนฺต > กโรนฺต+สิ
ปุริสกิจฺจานิ (กิจของบุรุษ, การงานของคน ท.) ปุริส+กิจฺจ > ปุริสกิจฺจ+โย วิ. ปุริสสฺส กิจฺจํ ปุริสกิจฺจํ (หน้าที่ของบุรุษ ชื่อว่า ปุริสกิจฺจํ) ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส
โส (นั้น) ต+สิ สัพพนาม
สุขํ (ความสุข) สุข+อํ
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
วิหายติ (ไม่ละ, ไม่เสื่อม) วิ+√หา+ย+ติ ทิวาทิ. กัตตุ. เป็นหมวดทิวาทิคณธาตุตามนัยสัททนีติ ธาตุมาลา.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen