๑๑๘. สถานที่ไม่น่าอยู่
ธนวา สุตวา ราชา, นที เวชฺโช อิเม ปญฺจ;
ยตฺถ เทเส น วิชฺชนฺติ, น ตตฺถ ทิวสํ วเสฯ
“ในประเทศใด ย่อมไม่มี ๕ อย่างเหล่านี้
คือ ๑. เศรษฐี ๒. นักปราชญ์ ๓. พระราชา
๔. แม่น้ำ ๕. นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ในประเทศนั้น ไม่ควรอาศัยอยู่ให้สิ้นวัน.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๑๘ โลกนีติ ๑๑๓ มหารหนีติ ๗๐ ธัมมนีติ ๓๒๕ จาณักยนีติ ๓๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ธนวา (ผู้มีทรัพย์) ธนวนฺตุ+สิ, วิ. ธนํ อสฺส อตฺถีติ ธนวา (ทรัพย์ของเขามีอยู่ เหตุนั้น เขา ชื่อว่า ธนวา) ตทัสสัตถิตัทธิต ลง วนฺตุ ปัจจัยด้วยสูตรว่า คุณาทิโต วนฺตุ. (รู ๔๐๒) แปลง นฺตุ กับ สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า อา สิมฺหิ. (รู ๙๘)
สุตวา (ผู้มีการสดับ, นักปราชญ์) สุตวนฺตุ+สิ, (ในมหารหนีติเป็น คณโก, ในธัมมนีติเป็น โชติโย, ในจาณักยนีติ เป็น โสตฺถิโย)
ราชา (พระราชา, ผู้นำ) ราช+สิ
นที (แม่น้ำ) นที+สิ อิต.
เวชฺโช (หมอ, แพทย์) เวชฺช+สิ
ตถา (เหมือนอย่างนั้น, เหมือนกัน) นิบาตบท
อิเม (เหล่านี้) อิม+โย ในโลกนีติ เป็น จิเม ตัดบทว่า จ+อิเม เป็นสัพพนาม
ปญฺจ (ห้า) ปญฺจ+โย แปลง โย เป็น อ ด้วยสูตรว่า ปญฺจาทีนมกาโร. (รู ๒๕๑)
ยตฺถ (ใด) ย+ถ, อสทิสเทฺวภาวะ ด้วยสูตรว่า วคฺเค โฆสาโฆสานํ ตติยปฐมา. (รู ๔๒)
เทเส (เทสะ, ประเทศ) เทส+สฺมึ
น (ไม่, หามิได้) นิบาติบอกปฏิเสธ
วิชฺชนฺติ (มีอยู่) √วิท+ย+อนฺติ, ทิวาทิ. กัตตุ. ทฺย เป็น ช แล้ว ซ้อน ชฺ
ตตฺถ = ตสฺมึ เทเส (ในที่นั้น, ในประเทศนั้น) ต+ถ ปัจจัย
ทิวสํ (สิ้นวัน, ตลอดวัน) ทิวส+อํ
วเส (พึงอยู่, อาศัย, พัก) √วส+อ+เอยฺย, ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง เอยฺย เป็น เอ ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen