๑๐๐. คนที่เสมอกับคนบ้า ๓ พวก
อธนสฺส รสํขาโท, อพลสฺส หโต นโร;
อปฺปญฺญสฺส วากฺยกโร, อุมฺมตฺตกสมา หิ โข ฯ
„คนไม่มีทรัพย์ แต่อยากกินของแพง ๑,
คนไม่มีแรง แต่อยากปล้ำอยากแข่ง ๑;
คนไม่มีปัญญา แต่อยากพูดแล่นสำนวน ๑,
ทั้ง ๓ พวกนี้แล เป็นคนที่ไม่ต่างกับคนบ้า.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๐๐ โลกนีติ ๓๐, ธัมมนีติ ๓๒๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อธนสฺส (ของคนไม่มีทรัพย์, คนจน) น+ธน > อธน+ส วิ. นตฺถิ เอตสฺส ธนนฺติ อธโน, ปุริโส. (ทรัพย์ ของบุรุษนั้น ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า อธนะ -คนไร้ทรัพย์) นนิปาตปุพพบท ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส
รสํขาโท (การเคี้ยวกินสิ่งมีรส, -ของอร่อย) รส+ขาท > รสํขาท+สิ
อพลสฺส (ของคนไม่มีแรง, -กำลัง) อพล+ส, วิ. นตฺถิ เอตสฺส พลนฺติ อพโล, ปุริโส. (กำลัง ของบุรุษนั้น ย่อมไม่มี เหตุนั้น บุรุษนั้น ชือว่า อพละ – คนไม่มีกำลัง) นนิปาตปุพพบท ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส
หโต (เบียดเบียน, ต่อสู้) √หน+ต > หต+สิ
นโร (คน, นระ) นร+สิ
อปฺปญฺญสฺส (คนไม่มีปัญญา) น+ปญฺญา > อปฺปญฺญ+ส, วิ. นตฺถิ เอตสฺส ปญฺญาติ อปฺปญฺโญ, ปุริโส. (ปัญญา ของบุรุษนั้น ย่อมไม่มี เหตุนั้น บุรุษนั้น ชื่อว่า อัปปญญะ – คนไร้ปัญญา) นนิปาตปุพพบท ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส
วากฺยกโร (ผู้สร้างประโยค, คนสร้างสำนวน, -คำคม) วากฺย+กร > วากฺยกร+สิ,
อุมฺมตฺตกสมา (ผู้เสมอกับคนบ้า, พอกันกับคนบ้า) อุมฺมตฺตก+สม > อุมฺมตฺตกสม+โย
หิ โข (จริงอย่างนั้นแล) นิบาตบท
ส่วนในโลกนีติ (คาถา ๓๐) มีข้อความต่างกันบ้าง ดังนี้
อธนสฺส รสํ ขาทา, อพลสฺส หถา นรา,
อปญฺญสฺส วากฺยกถา, อุมฺมตฺตกสมา อิเม ฯ
ในธัมมนีติ (คาถา ๓๒๕) ก็มีการใช้ศัพท์ต่างกันอีก ดังนี้
อธนสฺส รสํ ขาทา, อพลสฺส หตาหตา;
อปญฺญสฺส กถาวากฺยา, ติวิธํ หีนลกฺขณํ ฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen