อาจริยา ปาทมาทตฺเต, ปาทํ สิสฺโส สชานนา;
ปาทํ สพฺรหฺมจารีหิ, ปาทํ กาลกฺกเมน จฯ
“ในการศึกษาศิษย์ได้ความรู้หนึ่งส่วนจากครู,
ส่วนหนึ่งได้จากปัญญาของตนเอง;
ส่วนหนึ่งได้จากเพื่อนร่วมชั้น,
และอีกส่วนหนึ่งได้จากกาลเวลา.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๒๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
อาจริยา (จากอาจารย์, จากครู) อาจริย+สฺมา แปลง สฺมา เป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สฺมาสฺมึนํ วา. (รู ๙๐)
ปาทมาทตฺเต ตัดบทเป็น ปาทํ+อาทตฺเต (ส่วนหนึ่ง+ในการเรียน, การศึกษา)
คำว่า อาทตฺเต (ในสิ่งที่ตนถือเอา, ในการถือเอา) = ในการเรียนวิชา, ในการศึกษาศิลปะ
มาจาก อา+ทา+ต > อาทตฺต+สฺมึ
ปาทํ (บาท, ส่วน) ปาท+อํ
สิสฺโส (ศิษย์, นักศึกษา) สิสฺส+สิ แปลง สิ เป็น โอ ด้วยสูตรว่า โส. (รู ๖๖) วิ. สาสิตพฺโพ สิสฺโส (ชนผู้อันครูควรสั่งสอน ชื่อว่า สิสฺส, ศิษย์) มาจาก สาส-อนุสิฏฺฐมฺหิ ในการพรำ่สอน + ณฺย กิจจปัจจัยในกิตก์ แปลง อา เป็น อิ ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘) ซ้อน สฺ ด้วยสูตรว่า ปร เทฺวภาโว ฐาเน. (รู ๔๐)
สชานนา (จากความรู้ของตน, ปัญญาของตน) สก+ชานน > สชานน+สฺมา;
สพฺรหฺมจารีหิ (จากเพื่อน, -สพรหมจารี ท.) สพฺรหฺมจารี+หิ
กาลกฺกเมน (โดยลำดับแห่งกาล, ตามกาลเวลา) กาล+กม > กาลกฺกม+นา
จ (ด้วย, และ) เป็นนิบาต
คำว่า “ได้, ได้รับ” คือกิริยาศัพท์ว่า ลภติ (ย่อมได้), หากเขียนเรียงใหม่ให้เห็นชัด ก็อาจทำได้ดังนี้
สิสฺโส อาทตฺเต อาจริยา ปาทํ ลภติ
สิสฺโส อาทตฺเต สชานนา ปาทํ ลภติ.
สิสฺโส อาทตฺเต สพฺรหฺมจารีหิ ปาทํ ลภติ.
สิสฺโส จ อาทตฺเต กาลกฺกเมน ปาทํ ลภติ.
ถ้าแปลโดยพยัญชนะก็ต้องขึ้นประธาน..กิริยามาทุกประโยค และต้องแปล จ (ด้วย) ควบทุกประโยคและอาจตัดศัพท์ว่า อาทตฺเต ให้เหลือเพียงศัพท์เดียวก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen