๑๓๒. สิ่งที่ผู้ฉลาดไม่ควรดูหมิ่น
ภุชงฺคมํ ปาวกญฺจ, ขตฺติยญฺจ ยสสฺสินํ;
ภิกฺขุญฺจ สีลสมฺปนฺนํ, สมฺมเทว สมาจเรฯ
“บัณฑิตพึงประพฤติโดยชอบนั่นเทียว,
ต่องู, ต่อไฟ, ต่อกษัตริย์ผู้ทรงยศ,
และต่อภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๒, สํ. ส. ๑๕/๓๒๖ ทหรสูตร)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ภุชงฺคมํ (งู, นาค, ผู้ไปด้วยขนด) ภุชงฺคม+อํ, วิ. ภุเชน คจฺฉตีติ ภุชงฺโค (สัตว์ที่ไปด้วยขนด ชื่อว่า ภุชงฺโค) ทุติยากิตันตตัปปุริสสมาส
ปาวกญฺจ = ปาวกํ+จ (ไฟ+ด้วย) ปาวก+อํ, วิ. ปุนาตีติ ปาวโก (ผู้ชำระ ชื่อว่า ปาวโก) ปาวโก = ปุ-ปวเน+ณฺวุ+สิ, แปลง ณฺวุ เป็น อก ด้วยสูตรว่า อนกา ยุณฺวูนํ. (รู ๕๗๐)
ขตฺติยญฺจ = ขตฺติยํ+จ (กษัตริย์+ด้วย) ขตฺติย+อํ
ยสสฺสินํ (ผู้มียศ) ยสสฺสี+อํ, ทำรัสสะ ด้วยสูตรว่า อโฆ รสฺสเมกวจนโยสฺวปิ จ. (รู ๑๔๔) = ยสสฺสิ+อํ, แปลง อํ วิภัตติเป็น นํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นํ ฌโต กตรสฺสา. (รู ๑๕๓) = ยสสฺสิ+นํ, รวมสำเร็จเป็น ยสสฺสินํ, เป็นวิเสสนะใน ขตฺติยํ
ภิกฺขุญฺจ = ภิกฺขุํ+จ (ภิกษุ+ด้วย) ภิกฺขุ+อํ
สีลสมฺปนฺนํ (ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล) สีล+สมฺปนฺน > สีลสมฺปนฺน+อํ, วิ. สีเลน สมฺปนฺโน สีลสมฺปนฺโน, ภิกฺขุ. (ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า สีลสมฺปนฺโน) ตติยาตัปปุริสสมาส
สมฺมเทว = สมฺมา+เอว (โดยชอบ+นั่นเทียว) เป็นนิบาตบท
สมาจเร (ประพฤติด้วยดี) สํ+อา+√จร+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
บางตอนจากพระสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามความสงสัยว่า ทำไม่พระพุทธเจ้า แม้ยังเป็นหนุ่มอยู่ ย่อมปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดู ถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย, ๔ อย่าง เป็นไฉนของ ๔ อย่าง คือ
๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูกหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
๓.ไฟไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม
ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไมควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ฯ
(สํ. ส. ๑๕/๓๒๕ ทหรสูตร)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen