Montag, 12. Oktober 2020

๑๓๔. ความดีย่อมถึงผู้มีคุณ


 ๑๓๔. ความดีย่อมถึงผู้มีคุณ


คุโณ เสฏฺฐงฺคตํ ยาติ, อุจฺเจ สยเน วเส;

ปาสาทสิขเร วาโส, กาโก กึ ครุโฬ สิยาฯ


ความดี ย่อมถึงผู้มีคุณอันประเสริฐ,

เขาพึงนอนบนที่นอนอันสูง หามิได้;

นกกาถึงจับอยู่บนยอดแห่งปราสาท,

มันจะกลายเป็นครุฑได้เชียวหรือ?.


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๔, ธัมมนีติ ๒๒)


..


ศัพท์น่ารู้ :


คุโณ (คุณ, ความดี, อานิสงส์) คุณ+สิ

เสฏฺฐงฺคตํ (ผู้มีคุณอันประเสริฐ) เสฏฺฐงฺคต+อํ 

ยาติ (ไป, ก้าวไป, ถึง) √ยา++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

อุจฺเจ (สูง) อุจฺจ+สฺมึ 

สยเน (ที่นอน) สยน+สฺมึ 

วเส (พึงอยู่) √วส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

ปาสาทสิขเร (ยอดแห่งปราสาท) ปาสาท (ปราสาท) +สิขร (ยอด, โดม) > ปาสาทสิขร+สฺมึ 

วาโส (การอยู่, ที่อยู่, เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องหอม, น้ำหอม, ผ้า) วาส+สิ

กาโก (กา, นกกา) กาก+สิ 

กึ (หรือ, อย่างไร)  นิบาตในอรรถการถาม

ครุโฬ (ครุฑ, นกกระไน, นกหัวขวาน) ครุฬ+สิ 

สิยา (พึงเป็น) √อส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ลบอักษรต้นของ อส ธาตุได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพตฺถาสสฺสาทิโลโป . (รู ๔๙๖) = ++เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น อิยา ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘) = ++อิยา, แยก ลบ รวมสำเร็จรูปเป็น สิยา.



ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ๗๘๗ กล่าวอรรถแห่งคุณศัพท์ไว้ดังนี้  

คุโณ ปฏลราสีสุ, อานิสํเส พนฺธเน;

อปฺปธาเน สีลาโท, สุกฺกาทิมฺหิ ชิยาย จฯ

(แปลว่า) 

คุณ ศัพท์มีอรรถ อย่าง คือ  ในชั้นและกอง ในอานิสงส์  

ในเครื่องผูก ในวิเสสนะ ในคุณมีศีลเป็นต้น  

ในสีมีสีขาวเป็นต้น และในสายธนู .


..


Keine Kommentare: