Dienstag, 13. Oktober 2020

๑๓๕. ผู้มีปัญญาย่อมไม่กลัวภัย


๑๓๕. ผู้มีปัญญาย่อมไม่กลัวภัย


อนาคตํ ภยํ ทิสฺวา, ทูรโต ปริวชฺชเย;

อาคตญฺจ ภยํ ทิสฺวา, อภีโต โหติ ปณฺฑิโตฯ


 ผู้มีปัญญา เห็นภัยในอนาคต

ย่อมหลีกเว้นได้ แต่ที่ไกล,

และเมื่อเห็นภัยในปัจจุบัน 

ย่อมเป็นผู้ไม่กลัวต่อภัย.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๕ โลกนีติ ๑๔๒, ธัมมนีติ ๒๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อนาคตํ (อนาคต, ที่ยังมาไม่ถึง) 

ภยํ (ภัย, ความกลัว) ภย+อํ 

ทิสฺวา (เห็นแล้ว, เพราะเหตุ) ทิส+ตฺวา+สิ, ลง ตฺวา ปัจจัย ด้วยสูตรว่าปุพฺพกาเลกตฺตุกานํ ตุน-ตฺวาน-ตฺวา วา.“ (รู ๖๔๐) = ทิส+ตฺวา, แปลง ตฺวา เป็น สฺวาน, สฺวา และลบที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่าทิสา สฺวานสฺวานฺตโลโป . (รู ๖๔๔) = ทิ+สฺวา, ลง สิ วิภัตติ ด้วยสูตรว่าสิ โย, อํ โย, . (รู ๖๓) = ทิ+สฺวา+สิ, ลบ สิ ด้วยสูตรว่า สพฺพาสมาวุโสปสคฺคนิปาตาทีหิ . (รู ๒๘๒) ทิ+สฺวา, รวมสำเร็จรูป = ทิสฺวา 

ทูรโต (แต่ที่ไกล) ทูร+โต, ลง โต ปัจจัยในอรรถปัญจมีวิภัตติได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กฺวจิ โต ปญฺจมฺยตฺเถ. (รู ๒๖๐)

ปริวชฺชเย (เว้นรอบ) ปริ+วชฺช+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ.

อาคตญฺจ = อาคตํ+ (ที่มาแล้ว, ปัจจุบัน + ด้วย, และ) 

ภยํ ทิสฺวา (เห็นแล้วซึ่งภัย)

อภีโต (ผู้ไม่กลัว, ไม่สะดุ้ง) อภีต+สิ 

โหติ (ย่อมเป็น) หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้ฉลาด) ปณฺฑิต+สิ


..


 

Keine Kommentare: