Mittwoch, 14. Oktober 2020

๑๓๖. มีมลทินสิ้นมนต์ขลัง


 ๑๓๖. มีมลทินสิ้นมนต์ขลัง

อสชฺฌายมลา มนฺตา, อนุฏฺฐานมลา ฆรา;

มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ, ปมาโท รกฺขโต มลํฯ


มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน, 

เรื่อนมีการไม่หมั่นเป็นมลทิน;

ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ,

ความประมาทเป็นมนทินของผู้รักษา.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๓๖, โลกนีติ ๑๖๔, ขุ. . ๒๕/๒๘ มลวรรค)

..


อสชฺฌายมลา (มีการไม่สาธยาย-, -ท่องบนเป็นมลทิน) อสชฺชาย-มล+สิ วิ. อสชฺฌายํ มลํ อสฺสาติ  อสชฺฌายมลา มนฺตา (การสาธยายเป็นมลทินแก่มนต์นั้น เหตุนั้น มนต์นั้น ชื่อว่า มีการสาธยายเป็นมลทิน) . พหุพพีหิ

มนฺตา (มนต์) มนฺตา+สิ อิต. ลบ สิ ด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔)

อนุฏฺฐานมลา (มีการไม่ลุกขึ้น, -ไม่หมั่น, ไม่ขยันเป็นมลทิน) อนุฏฺฐานมล+โย วิ. อนุฏฺฐานํ มลํ เตสนฺติ อนุฏฺฐานมลา ฆรา (การไม่หมั่นเป็นมลทินแก่เรือน . เหล่านั้น เหตุนั้น เรือน . เหล่านั้น ชื่อว่า มีการไม่หมั่นเป็นมลทิน) . พหุพพีหิ 

ฆรา (เรื่อน .) ฆร+โย แปลง โย เป็น นิ แน่นอน ด้วยสูตรว่า อโต นิจฺจํ. (รู ๑๙๖) = ฆร+นิ, แปลง นิ เป็น อา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙) = ฆร+อา รวมสำเร็จรูป = ฆรา

มลํ (มลทิน) มล+สิ

วณฺณสฺส (ผิวพรรณ, วรรณะ) วณฺณ+ 

โกสชฺชํ (ความเกียจคร้าน) โกสชฺช+สิ, กุสีท+ณฺย ปัจจัย ภาวตัทธิต วิ. กุสีทสฺส ภาโว โกสชฺชํ. (ความแห่งความเกียจกคร้าน ชือว่า โกสัชชะ)

ปมาโท (ความประมาท) ปมาท+สิ 

รกฺขโต (ของผู้รักษา) รกฺข√+อนฺต ปัจจัยในกิตก์ > รกฺขนฺต+ แปลง นฺต เป็น นฺตุ ด้วยสูตรว่า เสเสสุ ตฺตุว. (รู ๑๐๘) = รกฺขนฺตุ+, แปล นฺตุ กับ เป็น โต ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า โตติตา สสฺมึนาสุ. (รู ๑๐๒) = รกฺข+โต รวมเป็น รกฺขโต


..

Keine Kommentare: