รตฺโต ทุฏฺโฐ จ มูฬฺโห จ, ภีรุ อามิสครุโก; อิตฺถี โสณฺโฑ ปณฺฑโก จ, นวโม ทารโกปิ จฯ นวเต ปุคฺคลา โลเก, อิตฺตรา จลิตา จลา; เอเตหิ มนฺติตํ คุยฺหํ, ขิปฺปํ ภวติ ปากฏํฯ
„คนราคจริต ๑ คนโทสจริต ๑ คนโมหจริต ๑ คนขี้กลัว ๑ คนเห็นแก่ได้ ๑ ผู้หญิง ๑ คนขี้เมา ๑ กะเทย ๑ และเด็กน้อยเป็นที่เก้า ๑ บุคคลทั้ง ๙ เหล่านี้ เป็นคนอ่อนไหวง่าย ไม่มีความมั่นคง เหตุนั้น ความลับที่ปรึกษากับคนเหล่านั้น ย่อมรั่วไหลได้ง่าย.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๑-๑๔๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
รตฺโต (คนถูกราคะกลุ้มรุม, คนราคจริต) รตฺต+สิ ทุฏฺโฐ (คนถูกโทสะกลุ้มรุม, คนโทสจริต) ทุฏฺฐ+สิ จ (ด้วย, และ) นิบาตใช้ในอรรถรวบรวม-สมุจจยัตถะ มุฬฺโห (คนถูกโมหะครอบงำ, คนโมหจริต) มุฬฺห+สิ ภีรุ (คนขี้กล้ว) ภีรุ+สิ อามิสครุโก (คนหนักในอามิส, คนเห็นแก่สินจ้าง) อามิส+ครุก > อามิสครุก+สิ อิตฺถี (ผู้หญิง, สตรี) อิตฺถี+สิ โสณฺโฑ (นักเลง, นักเลงสุรา, ขี้เมา) โสณฺฑ+สิ ปณฺฑโก (บัณเฑาะก์, กระเทย) ปณฺฑก+สิ นวโม (ที่เก้า) นวม+สิ ทารโกปิ (แม้ทารก, เด็กน้อย) ทารโก+อปิ นวเต ตัดบทเป็น นว+เอเต (๙+เหล่านี้) นว+โย = นว, เอต+โย = เอเต. ปุคฺคลา (บุคคล, คน ท.) ปุคฺคล+โย โลเก (ในโลก) โลก+สฺมึ อิตฺตรา (เปลี่ยนแปลง, ไม่คงทน, ชั่วครู่) อิตฺตร+โย จลิตา (หวั่นไหวง่าย, ถูกชักจูงง่าย) จล+อิ+ต > จลิต+โย จลา (คลอนแคลน, ไม่คงที) จล+โย เอเตหิ (ด้วย-, เพราะ..เหล่านี้) เอต+หิ มนฺติตํ (ที่ถูกปรึกษา, ที่ตกลงกันไว้แล้ว) มนฺต+อิ+ต > มนฺติต+สิ คุยฺหํ (ความลับ, ข้อที่ควรปิดบัง) คุยฺห+สิ ขิปฺปํ (โดยเร็ว, ต่วน, พลัน) ขิปฺป+อํ ภวติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น) ภู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. ปากฏํ (ปรากฏ, เปิดโปง) ปาฏก+สิ
.. |
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen