Freitag, 2. Oktober 2020

๑๒๔. เครื่องประดับที่ควรมี


 ๑๒๔. เครื่องประดับที่ควรมี


หตฺถสฺส ภูสนํ ทานํ, สจฺจํ กณฺฐสฺส ภูสนํ;

โสตสฺส ภูสนํ สตฺถํ, ภูสเน กึ ปโยชนํฯ


ทาน เป็นเครื่องประดับมือ,

สัจจะ เป็นเครื่องประดับคอ;

ความรู้ เป็นเครื่องประดับของหู,

ประโยชน์อะไรจักมีในการประดับ.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๒๔)


..


ศัพท์น่ารู้ :


หตฺถสฺส (แห่งมือ) หตฺถ+ 

ภูสนํ (เครืองประดับ, เครื่องเสริมสวย, ความงาม) ภูสน+สิ หลัง อาการันต์ในนปุงสกลิงค์ ให้แปลง สิ เป็น อํ แน่นอน ด้วยสูตรว่า สึ. (รู ๑๙๕)

ทานํ (การให้, ทาน) ทาน+สิ, 

สจฺจํ (สัจจะ, ความจริง) สจฺจ+สิ 

กณฺฐสฺส (คอ, ลำคอ) กณฺฐ+ 

โสตสฺส (หู, โสต) โสต+ 

สตฺถํ (ศาสตร์, ตำรา, เกวียน, ศัสตรา, หอก, มีด) สตฺถ+สิ

ภูสเน (ในการประดับ, -เครื่องประดับ) ภูสน+สฺมึ 

กึ (อะไร) กึ+สิ ลง สิ ปฐมา, ลบเสียด้วยสูตรว่า เสสโต โลปํ คสิปิ. (รู ๗๔) 

ปโยชนํ (ประโยชน์, การประกอบ) ปโยชน+สิ


ขอเรียงประโยคใหม่ เพื่อให้แปลง่ายสำหรับนักศึกษาใหม่ อาจทำได้ดังนี้


. ทานํ หตฺถสฺส ภูสนํ โหติ. 

. สจฺจํ กณฺฐสฺส ภูสนํ โหติ.

. สตฺถู โสตสฺส ภูสนํ โหติ.

. กึ ปโยชนํ ภูสเน ภวิสฺสติ.


ลองหัดแปลดูทั้ง แบบนะครับ คือ 

. แปลโยกศัพท์ . แปลโดยพยัญชนะ และ . แปลโดยอรรถ


..

Keine Kommentare: