Dienstag, 20. Oktober 2020

๑๔๓. ดุจช้างไพรไร้ดวงตา


 ๑๔๓. ดุจช้างไพรไร้ดวงตา


โย นิรุตฺตึ สิกฺเขยฺย, สิกฺขนฺโต ปิฏกตฺตยํ;

ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย, วเน อนฺธคโช ยถาฯ

บุคคลที่ไม่ศึกษาหลักนิรุตติศาสตร์

เมื่อไปศึกษาพระไตรปิฏกอรรถกถา

ย่อมจะสังสัยในทุก บท เหมือนช้าง

ตาบอดท่องเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น.


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๓)


..


ศัพท์น่ารู้ :


โย (ใด, ผู้ใด) +สิ สัพพนาม.

นิรุตฺตึ (นิรุตติ, หลักภาษา, ไวยากรณ์) นิรุตฺติ+อํ

  (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

สิกฺเขยฺย (ศึกษา, เรียน, ค้นคว้า) สิกฺข++เอยฺย ภูวาท. กัตตุ.

สิกฺขนฺโต (ศึกษาอยู่, เรียนอยู่) สิกฺข++อนฺต > สิกฺขนฺต+สิ

ปิฏกตฺตยํ (หมวดสามแห่งปิฏก, พระไตรปิฏก) ปิฏก+ตย > ปิฏกตฺตย+อํ

ปเท ปเท (ทุกบท) ปท+สฺมึ

วิกงฺเขยฺย (สงสัย, ลังเล, กังขา)  กงฺข++เอยฺย ภูวาทิ.​ กัตตุ.

วเน (ป่า) วน+สฺมึ

อนฺธคโช (ช้างตาบอด) อนฺธ (บอด, มืดบอด) + คช (ช้าง)  > อนฺธคช+สิ

ยถา (เหมือน, ดุจ) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ


โย นิรุตฺตึ สิกฺเขยฺย, สิกฺขนฺโต ปิฏกตฺตยํ;

ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย, วเน อนฺธคโช ยถา


โย ปุคฺคโล . บุคคลใด สิกฺขนฺโต ศึกษาอยู่ ปิฏกตฺตยํ ซึ่งพระไตรปิฏก สิกฺเขยฺย ไม่พึงศึกษา นิรุตฺตึ ซึ่งหลักไวยากรณ์, โส ปุคฺคโล . บุคคลนั้น วิกงฺเขยฺย พึงสงสัย ปเท ปเท ทุกๆ บท, ยถา เหมือน อนฺธคโช . ช้างตาบอด วิจรนฺโต ตัวเที่ยวไปอยู่ วเน ในป่า ฉะนั้น.

..

Keine Kommentare: