Mittwoch, 21. Oktober 2020

๑๔๔. ราชสีห์ในป่าไวยากรณ์


๑๔๔. ราชสีห์ในป่าไวยากรณ์


สุตฺตํ ธาตุ คโณ ณฺวาทิ, นามลิงฺคานุสาสนํ;

ยสฺส ติฏฺฐติ ชิวฺหคฺเค, พฺยากรณเกสรีฯ


สูตร ธาตุ ปทมาลา ปัจจัยเป็นต้น

นาม ลิงค์ และการวินิจฉัย

ย่อมตั้งอยู่ที่ปลายลิ้นของผู้ใด

ผู้นั้นคือราชสีห์ในป่าบาฬีไวยกรณ์.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๔)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สุตฺตํ (สูตร, มีกัจจายนสูตรเป็นต้น) สุตฺต+สิ

ธาตุ (ธาตุ, มีธาตวัตถสังหคะเป็นต้น) ธาตุ+สิ

คโณ (คณะ, ปทมาลา) คณ+สิ

ณฺวาทิ (ปัจจัยมี ณุ เป็นอาทิ) ณฺวาทิ+สิ

นามลิงฺคานุสาสนํ (นาม ลิงค์ และอนุสาสน์ = , การสั่งสอน, การวินิจฉัย) นาม+ลิงฺค+อนุสาสน > นามลิงฺคานุสาสน+สิ

ยสฺส (ของผู้ใด) + สัพพนาม

ติฏฺฐติ (ยืน, ตั้ง, ดำรง, อยู่) √ฐา++ติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง ฐา เป็น ติฏฺฐ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ฐาติฏฺโฐ. (รู ๔๙๒)

ชิวฺหคฺเค (ปลายลิ้น) ชิวฺหา (ลิ้น, ชิวหา) + อคฺค (ยอด, ปลาย) > ชิวฺหคฺค+สฺมึ

= โส (นั้น,​ คนนั้น, เขา) +สิ สัพพนาม แปลง เป็น ด้วยสูตรว่า เอตเตสํ โต.​ (รู ๒๑๑)

พฺยากรณเกสรี (ราชสีห์แห่งไวยากรณ์, ราชสีห์ในป่าคือไวยากรณ์) พฺยากรณ (ไวยากรณ์, พยากรณ์) + เกสรี (สัตว์ที่มีชฎา ชื่อว่า เกสรี, ราชสีห์) > พฺยากรณเกสรี+สิ


..


 

Keine Kommentare: