Donnerstag, 22. Oktober 2020

๑๔๕. ผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก


๑๔๕. ผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก


สทฺทตฺถลกฺขเณ เภที, โย โย นิจฺฉิตลกฺขเณ;

โส โส ญาตุมกิจฺเฉน, ปโหติ ปิฏกตฺตเยฯ


ผู้ใดแตกฉานลักษณะศัพท์และอรรถ

และลักษณะแห่งบทที่ตนชี้ขาดแล้ว

ผู้นั้นย่อมเพียงพอเพื่อจะรู้เนื้อความ

ในพระไตรปิฏกได้โดยไม่ยากนัก.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๕)


..


ศัพท์น่ารู้ :


สทฺทตฺถลกฺขเณ (ในลักษณะแห่งศัพท์และอรรถ) สทฺท+อตฺถ+ลกฺขณ > สทฺทตฺถลกฺขณ+สฺมึ

เภที (มีความแตกฉาน) เภท (การแบ่ง, การแตก, การทำลาย, ส่วน) + อี ปัจจัยในอัสสัตถิตัทธิต > เภที+สิ  วิ. เภโท อสฺส อตฺถีติ เภที (ผู้แตกฉาน ชื่อว่า เภที)

โย โย (ใด ) +สิ สัพพนาม

นิจฺฉิตลกฺขเณ (ในลักษณะแห่งศัพท์ที่ชี้ขาด, -ได้พิจารณา, -ได้สอบสวน) นิจฺฉิต (อันชี้ขาด, ซึ่งตัดสิน, ซึ่งตั้งใจแน่วแน่) + ลกฺขณ (ลักษณะ, เครื่องหมาย, การกำหนด) > นิจฺฉิตลกฺขณ+สฺมึ

โส โส (นั้น , เขา) +สิ สัพพนาม

ญาตุมกิจฺเฉน ตัดบทเป็น ญาตุํ (เพื่ออันรู้) + อกิจฺเฉน (โดยไม่ยาก, ไม่ลำบาก) 

ปโหติ  (ย่อมเพียงพอ) +หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ปิฏกตฺตเย (ในตะกร้า ใบ, ในพระไตรปิฏก) ปิฏก+ตย > ปิฏยตฺตย+สฺมึ


..

Keine Kommentare: