Mittwoch, 28. Oktober 2020

๑๕๑. ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว


๑๕๑. ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว


กลฺยาณการี กลฺยาณํ, ปาปการี ปาปกํ;

ยาทิสํ วปฺปเต พีชํ, ตาทิสํ หรเต ผลํฯ


ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี

ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว

บุคคลหว่านพืชเช่นใด

ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๑ ธัมมนีติ ๓๘๕  นรทักขทีปนี ๑๐๖, สํ.. ๑๕/๙๐๓ สมุททกสูตร, ขุ.ชา. ๒๗/๒๙๔ จุลลนันทิยชาดก, ๒๗/๗๑๓ เวนสาขชาดก)


..


ศัพท์น่ารู้ :


กลฺยาณการี (ผู้มีปกติทำกรรมอันงาม, ผู้มีปกติทำกรรมดี) กลฺยาณ+การี > กลฺยาณการี+สิ

กลฺยาณํ (ความงาม,​ กรรมงาม, ที่ดีงาม) กลฺยาณ+อํ

ปาปการี (ผู้มีปกติทำบาป, คนชอบทำกรรมชั่ว) ปาป+การี > ปาปการี+สิ

(ด้วย, และ, ส่วน) นิบาต

ปาปกํ (ที่เป็นบาป, กรรมชั่ว) ปาปก+อํ

ยาทิสํ (เช่นใด) ยาทิส+อํ

วปฺปเต (หว่าน, ปลูก) วป++เต ทิวาทิ. กัตตุ.

พีชํ (พืช, เมล็ดพันธุ์) พีช+อํ

ตาทิสํ (เช่นนั้น) ตาทิส+อํ

หรเต (ย่อมนำไป) หร++เต ภูวาทิ. กัตตุ.

ผลํ (ผล) ผล+อํ



คาถานี้ในพระบาฬีสังยุตตนิกาย สคาถวรค เล่ม ๑๕ ข้อ ๙๐๓ มีข้อความดังนี้


ยาทิสํ วปเต พีชํ, ตาทิสํ หรเต ผลํ;

กลฺยาณการี กลฺยาณํ, ปาปการี ปาปกํ.


ส่วนในพระบาฬีชาดก เล่มที่ ๒๗ ข้อที่ ๒๙๔ และ ๗๑๓ มีข้อความคล้ายกัน เพียงสลับกึ่งคาถาเท่านั้น 


กลฺยาณการี กลฺยาณํ, ปาปการี ปาปกํ;

ยาทิสํ วปเต พีชํ, ตาทิสํ หรเต ผลํ.


 

Keine Kommentare: