Donnerstag, 29. Oktober 2020

๑๕๒. กวีเป็นที่อาศัยของคาถา


๑๕๒. กวีเป็นที่อาศัยของคาถา


ฉนฺโท นิทานํ คาถานํ, อกฺขรา ตาสํ วิยญฺชนํ;

นามสนฺนิสฺสิตา คาถา, กวิ คาถานมาสโยฯ


ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถาทั้งหลาย 

อักขระเป็นเครื่องปรากฏของคาถาเหล่านั้น 

คาถาทั้งหลายต้องอาศัยชื่อ 

กวีเป็นที่อาศัยของคาถาทั้งหลาย.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๕๒ สํ. . ๑๕/๑๗๗ กวิสูตร)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ฉนฺโท (ฉันท์, ฉันทศาสตร์, ความพอใจ, ความรักใคร่) ฉนฺท+สิ .

นิทานํ (ต้นเหตุ, นิทาน) นิทาน+สิ

คาถานํ (แห่งคาถา .) คาถา+นํ อิต.

อกฺขรา (อักษร, พยางค์, ตัวหนังสือ, สระและพยัญชนะ) อกฺขร+โย ., นป.

ตาสํ (เหล่านั้น) +นํ สัพพนาม 

วิยญฺชนํ (เครื่องปรากฏ, พยัญชนะ) วิยญฺชน+สิ

นามสนฺนิสฺสิตา (อาศัยชื่อ

คาถา (คาถา, โศลก, คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง) คาถา+สิ อิต.

กวิ (กวี, นักกวี, นักประพันธ์) กวิ+สิ .

คาถานมาสโย ตัดบทเป็น คาถานํ+อาสโย (ที่อาศัยของคาถา .) คาถา+นํ = คาถานํ, อาสย+โย = อาสโย.


..


คาถานี้มาในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ชราวรรค กวิสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๑๗๖-๑๗๗ ซึ่งมีข้อความเต็ม ดังนี้


[๑๗๖] กึสุ นิทานํ คาถานํ, กึสุ ตาสํ วิยญฺชนํ;

          กึสุ สนฺนิสฺสิตา คาถา, กึสุ คาถานมาสโยติฯ


 [๑๗๗] ฉนฺโท นิทานํ คาถานํ, อกฺขรา ตาสํ วิยญฺชนํ

           นามสนฺนิสิตา คาถา, กวิ คาถานมาสโยติฯ


     [๑๗๖] เทวดาทูลถามว่า

          อะไรหนอเป็นต้นเหตุของคาถา อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏ

          (พยัญชนะ) ของคาถาเหล่านั้น คาถาอาศัยอะไรหนอ อะไร

          หนอเป็นที่อาศัยของคาถา


     [๑๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

           ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถา อักขระเป็นเครื่องปรากฏ 

(พยัญชนะ)ของคาถา คาถาอาศัยแล้วซึ่งชื่อ กวีเป็นที่อาศัยของคาถา


..


 

Keine Kommentare: