๑๔๘. เวลาที่ไม่ควรเหนียมอาย
ธนธญฺญปฺปโยเคสุ, ตถา วิชฺชาคเมสุ จ;
อาหาเร พฺยวหาเร จ, จตฺตลชฺโช สทา ภเวฯ
„เวลาค้าขายแลทำการงาน
เวลาเรียนวิชาหาความรู้
ในเวลาทานอาหารและการสื่อสาร
พึงละความละอายทุกเมื่อเถิด.“
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๔๘ โลกนีติ ๑๖๐, ธัมมนีติ ๒๐๓, มหารหนีติ ๒๔๖ จาณักยนีติ ๓๕)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ธนธญฺญปฺปโยเคสุ (ในการประกอบทรัพย์และธัญญพืช ท., ในการทำมาหากิน, ในการประกอบอาชีพ) ธน (ทรัพย์) +ธญฺญ (ข้าวเปลือก) +ปโยค (การประกอบ, การค้าขาย) > ธนธญฺญปฺปโยค+สุ
ตถา (เหมือนอย่างนั้น, เช่นกัน) นิบาต
วิชฺชาคเมสุ (ในการเรียนวิชา ท.) วิชฺชา (วิชา, ความรู้, ศิลป์ +อาคม (การเรียน, การศึกษา) > วิชฺชาคม+สุ
อาหาเร (ในอาหาร, เวลาอาหาร, การรับประทาน) อาหาร+สฺมึ ในโลกนีติ เป็น ทูเตสุ (ในการทูต, การติดต่อ, เจรจา) ทูต+สุ
พฺยวหาเร (การบอกชื่อ, การสื่อสาร ?) พฺยวหาร+สฺมึ ในโลกนีติ เป็น อปจาเรสุ (ความเสื่อม, โทษ, การกระทำผิด) อปจาร+สุ
จตฺตลชฺโช (ผู้มีความละอายสละแล้ว) จตฺต (สละแล้ว) +ลชฺชา (ความละอาย) > จตฺตลชฺช+สิ
ตทา (ในกาลนั้น) ต+ทา ปัจจัย ในธัมมนีติ เป็น สทา (ทุกเมื่อ, ทุกเวลา) สพฺพ+ทา > สทา
ภเว (พึงเป็น) √ภู+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ในโลกนีติบาทสุดท้ายเป็น จตฺตา ลชฺชา ตทา ภเว (ในเวลานั้น พึงสละความละอาาย)
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen